Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43490
Title: ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: INTERPERSONAL PROBLEMS AND DEPRESSION OF THE ELDERLY AT THE ELDERLY ASSOCIATE IN PHITSANULOK PROVINCE
Authors: รสพร เพียรรุ่งเรือง
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: peeraphon_tu@yahoo.com
Subjects: ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
สุขภาพจิต
Depression in old age
Interpersonal relations
Mental health
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ของชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 391 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน–กันยายน 2556 โดยการตอบแบบสอบถาม 6 ส่วนดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประเมินปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 3) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย 4) แบบสอบถามประเมินบุคลิกภาพและทักษะการจัดการปัญหา 5) แบบสอบถามประเมินการสนับสนุนทางสังคม ความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว และ 6) แบบสอบถามประเมินเหตุการณ์ที่เผชิญในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมา โดยแสดงความชุกของปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าเป็นความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในผู้สูงอายุโดยใช้ความถดถอยแบบลอจิสติก ผลการศึกษา ผู้สูงอายุที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.5) อายุเฉลี่ย 69.8 ปี สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 53.3) ความชุกของปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่พบมากที่สุดคืออารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสีย (ร้อยละ 45.0) รองลงมาเท่ากันคือความขัดแย้งทางบทบาทสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความบกพร่องทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (ร้อยละ 13.8) ส่วนการเปลี่ยนผ่านบทบาทพบน้อยที่สุด (ร้อยละ 3.8) พบความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.2 (36 ราย) แบ่งเป็นมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยร้อยละ 7.2 และมีภาวะซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 2.0 สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ได้แก่ อายุ 60-70 ปี ได้รับการศึกษา มีการประกอบอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 1,000 บาท ใช้สารเสพติด มีการปรับตัวในการแก้ปัญหาที่ไม่ดี ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์น้อย รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ปานกลาง/มาก สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 ได้แก่ มีรูปแบบการสื่อสารที่อ้อมค้อมไม่ชัดเจน ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุน้อย การมีความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี รวมถึงมีการเผชิญเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา สำหรับปัจจัยทำนายปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้แก่ ใช้สารเสพติด (adjusted OR 2.65, 95%CI = 1.40-5.01, p<0.01) มีรูปแบบการสื่อสารที่อ้อมค้อมไม่ชัดเจน (adjusted OR 2.25, 95%CI = 1.12-4.53, p<0.05) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์น้อย (adjusted OR 3.36, 95%CI = 1.13-10.00, p<0.05) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ปานกลาง/มาก (adjusted OR 1.82, 95%CI = 1.06-3.14, p<0.05) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุน้อย (adjusted OR 2.20, 95%CI = 1.06-4.57, p<0.05) การมีความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี (adjusted OR 3.49, 95%CI = 1.89-6.43, p<0.01) และมีการเผชิญเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา (adjusted OR 2.23, 95%CI = 1.20-4.15, p<0.05) และพบว่าปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทั้ง 4 ด้าน [อารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสีย (p<0.05) ความขัดแย้งทางบทบาทสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (p<0.01) การเปลี่ยนผ่านบทบาท (p<0.01) และความบกพร่องทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (p<0.01) ] มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ สรุป ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้า สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียเป็นปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่พบมากที่สุด และปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
Other Abstract: Objectives: To find out the prevalence of interpersonal problems and depression. The factors associated with interpersonal problems and the association between interpersonal problems and depression of the elderly at the Elderly Associate in Phitsanulok province. Method: Three hundred and ninety-one elderly aged 60 years and above, of the elderly associate in Phitsanulok province, were recruited into the study during June-September 2013. All of the participants completed six questionnaires: 1) Demographic data form, 2) Thai Interpersonal Questionnaire, 3) Thai Geriatric Depression Scale (TGDS), 4) Personality and Problem Solving Questionnaire, 5) Social Support, Family Relationship and Functioning Questionnaire, and 6) 1-Year Life Events Questionnaire. The prevalence of interpersonal problems and depression were presented by frequency and percentage, the associated factors of interpersonal problems and the association between interpersonal problems and depression was analyzed by using the chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictors of interpersonal problems in the elderly. Results: Most of the participants were female (68.5%), the average age was 69.8 years, and 53.3% were married. Grief or bereavement, the highest prevalent problem, was found 45.0%. Both interpersonal role disputes and interpersonal deficits, the secondly common problems, was found 13.8%. Role transitions, the least common problem, was found 3.8%. Thirty-six of the participants (9.2%) had depression; 7.2% with mild depression and 2.0% with moderate depression. The factors associated with interpersonal problems (p<0.05) were age of 60-70 years, being educated, being employed, having income over 1,000 baht per month, substance use, maladaptive problem solving, poor emotional support, and moderate/over emotional support. The factors associated with interpersonal problems (p<0.01) were indirect/ambiguous communication pattern, poor tangible support, poor family relationship and functioning, and life events encountering in 1 year. The predictors of interpersonal problems were substance use (adjusted OR 2.65, 95%CI = 1.40-5.01, p<0.01), indirect/ambiguous communication pattern (adjusted OR 2.25, 95%CI = 1.12-4.53, p<0.05), poor emotional support (adjusted OR 3.36, 95%CI = 1.13-10.00, p<0.05), moderate/over emotional support (adjusted OR 1.82, 95%CI = 1.06-3.14, p<0.05), poor tangible support (adjusted OR 2.20, 95%CI = 1.06-4.57, p<0.05), poor family relationship and functioning (adjusted OR 3.49, 95%CI = 1.89-6.43, p<0.01), and life events encountering in 1 year (adjusted OR 2.23, 95%CI = 1.20-4.15, p<0.05). All four interpersonal problems [grief or bereavement (p<0.05), interpersonal role disputes (p<0.01), role transitions (p<0.01), and interpersonal deficits (p<0.01)] were associated with the depression in the elderly. Conclusion: Interpersonal problems and depression were common in the elderly. Grief was the most common interpersonal problem. All four interpersonal problems were associated with the depression in the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43490
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.954
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.954
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574153430.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.