Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43503
Title: | ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF MUSCULOSKELETAL DISCOMFORT AMONG ROAD SWEEPERS IN BANGKOK |
Authors: | สุรีรัตน์ ธีระวณิชตระกูล |
Advisors: | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | psithisarankul@gmail.com |
Subjects: | ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก -- ความผิดปกติ Musculoskeletal system -- Abnormalities, Human |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (musculoskeletal discomfort : MSD) ในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร วิธีการ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในพนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างที่ได้รับการคัดเข้าทั้งหมด 273 ราย การเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และประเมินอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง โดยใช้แบบสอบถามของนอร์ดิก ร่วมกับแบบสอบถามระดับคะแนนอาการปวดเมื่อยล้า (Body discomfort) และประเมินด้านการยศาสตร์โดยใช้ REBA ผล พนักงานกวาดถนนมีความชุกของ MSD สูง โดยมีความชุกสูงที่สุดในส่วนไหล่ รองลงมาคือเข่า ความชุกในรอบ 7 วัน โดยรวมมีร้อยละ 79.12 ความชุกในรอบ 12 เดือนโดยรวมมีร้อยละ 85.71 ความรุนแรงของอาการผิดปกติที่ต้องลางานโดยรวมมีร้อยละ 11.72 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ overall MSD ได้แก่ การทำงานบ้าน (Adjusted odds ratio 2.579, p-value 0.027) และ อายุการปฏิบัติงานระหว่าง 21-40 ปี (Adjusted odds ratio 10.909, p-value 0.020) ผลการประเมินระดับคะแนนอาการปวดเมื่อยล้า (Body discomfort) ของแต่ละส่วนของร่างกายมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนค่อนข้างต่ำ โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนต่ำสุดคือบริเวณข้อศอก (0.28 คะแนน) และสูงสุดคือบริเวณไหล่ (1.09 คะแนน) ผลการประเมินด้านการยศาสตร์ในการทำงานกวาดถนน ของพนักงานกวาดถนน 1 ราย(ถนัดขวา) โดยใช้ REBA พบว่า Final Score ของร่างกายด้านขวา เท่ากับ 10 (เสี่ยงสูง) และ Final Score ของร่างกายด้านซ้าย เท่ากับ 7 (เสี่ยงปานกลาง) สรุป พนักงานกวาดถนน กรุงเทพมหานครมีความชุกของ MSD ค่อนข้างสูง ควรจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิด MSD จากการทำงานกวาดถนน |
Other Abstract: | Objective: The aim of this study was to find out the prevalence and related factors of musculoskeletal discomfort (MSD) in road sweepers in Bangkok. Method: The study design was a cross-sectional study. A survey was conducted in April to June, 2013. Two hundred and seventy three road sweepers in Bangkok were included in this study. The subjects were asked to complete questionnaires concerning personal factors, occupational factors and musculoskeletal discomfort. Musculoskeletal symptoms were evaluated by modified Nordic musculoskeletal questionnaire, body discomfort questionnaire and Rapid Entire Body Assessment (REBA). Brooms and basket bins were weighed and broom handle length was measured. Handgrip strength test was done in every road sweeper. Result: Regarding overall MSD (symptoms in at least one body part) in road sweepers, the 7 day and 12-month prevalence were 79.12 and 85.71% respectively. Sickness absence due to overall MSD was 11.72%. Shoulders were the most prevalent sites of MSD in road sweepers. Knees were the second prevalent. Statistically significant factors related to overall 12-month MSD in road sweepers were housework [Adjusted odds ratio 2.579, p-value 0.027] and work duration of 21-40 years [Adjusted odds ratio 10.909, p-value 0.020]. The average body discomfort scores were quite low in every part (minimum score was 0.28 in elbow region and maximum score was 1.09 in shoulder region). The REBA scores in a right-handed road sweeper were 10 in the right (high risk) and 7 in the left (medium risk). Conclusion: The MSD was prevalent in road sweepers in Bangkok. It is necessary for road sweepers to carry out the prevention program of musculoskeletal discomfort. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43503 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.983 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.983 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574181030.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.