Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43506
Title: เหตุการณ์สะเทือนขวัญ และการพยายามฆ่าตัวตาย ในผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ณ สถาบันธัญญารักษ์
Other Titles: TRAUMATIC LIFE EVENT AND SUICIDAL ATTEMPT IN METHAMPHETAMINE USERS AT THANYARAK INSTITUTE
Authors: อังคณา ทองสม
Advisors: รัศมน กัลยาศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: rasmon.k@chula.ac.th
Subjects: ยาบ้า
ยาเสพติด -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา
สุขภาพจิต
Narcotics -- Physiological effect
Mental health
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุการณ์สะเทือนขวัญของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สะเทือนขวัญกับการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ณ สถาบันธัญญารักษ์วิธีการศึกษา ได้ศึกษาในผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดที่สถาบันธัญญารักษ์ในช่วงปี 2551-2555 ที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เบื้องต้นแล้วจากงานวิจัยที่ชื่อว่า อิทธิพลของพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอาการโรคจิตที่เกิดจากการติดสารเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า ของผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันธัญญารักษ์จำนวน 991 คน โดยใช้แบบสอบถาม SSADDA แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จากsection A ภาวะซึมเศร้า จาก section J อาการจิตหวาดระแวงจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน จาก section F 2) การพยายามฆ่าตัวตาย จาก section N 3)เหตุการณ์สะเทือนขวัญจาก section O นำเสนอความถี่ ร้อยละของปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตาย และ เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สะเทือนขวัญกับการพยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายการพยายามฆ่าตัวตาย โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05ผลการศึกษา ผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน พบผู้ที่มีเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ร้อยละ 16.3 ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 17 และพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตายได้แก่ เพศ(p<0.001) การมีอาการจิตระแวงจากการใช้สารแมทแอมเฟตามีน (p<0.001) ความรุนแรงของการใช้สารเสพติด (p<0.001) การมีอาชีพ (p =0.007)อายุ (p =0.007)และระดับการศึกษา (p =0.0022 ) โดยเหตุการณ์สะเทือนขวัญมีความสัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตาย ได้แก่ เพศหญิงมีค่าความเสี่ยง 1.9 เท่า (95%CL1.3-2.8) อายุมากขึ้นมีค่าความเสี่ยง 1.9 เท่า (95%1.1-3.3) การมีรายได้ครอบครัวที่สูงกว่า มีค่าความเสี่ยง 5.5 เท่า (95%CL2.1-14.5) ภาวะซึมเศร้า มีค่าความเสี่ยง 6.9 เท่า (95 %1.4-34.0) อาการจิตหวดระแวงจากการใช้สาร มีค่าความเสี่ยง 1.6 เท่า (95 %.CL 1.1-2.4)และความรุนแรงของการติดสารเมทแอมเฟตามีน มีค่าความเสี่ยง 1.6 เท่า (95 %.CL 1.1-2.4)
Other Abstract: Objective: To study traumatic life event, suicidal attempt in methamphetamine users, and factors related to suicidal attempt in methamphetamine users.Method: The data were from secondary data of the nine hundred and ninety-one methamphetamine users who were treated at Thanyarak institute during 2008 to 2012 and participated in the project entitled "Genetics of methamphetamine-induced paranoia". Demographic data (section A), depression (section J), methamphetamine-induced paranoia (section F), suicidal attempt (section N), traumatic life event (section O) were obtained by using the Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA). The data that involved traumatic life event, suicidal attempt were presented by mean proportion, and percentage. The association between traumatic life event and suicidal attempt were analyzed by using chi-square test. Logistic regression analysis was used to identify factors for suicidal attempt . A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant.Results: Prevalence of having traumatic life event and suicidal attempt in methamphetamine user were 16.3% and 17% respectively. Related factors of suicidal attempt were sex (p<0.001), methamphetamine-induced paranoia (p<0.001), mathamphetamine dependence seversity (P<0.001). employment (p=0.007), age (P=.004), level of education (p=0.02). there was association betewwn traumatic life event and suicidal attempt (p=0.04). Logistic regression showed that the predictors of suicidal attempt were female (OP=1.9,95 % CL1.3-2.8), older age (OR=1.9,95%CL1.1-3.3), higher hourse income (OR=5.5,95%CL2.1-14.5), major depressive episide (OR=6.9,95%CL1.4-34.0), methamphetamine-induced paranoid (OR=1.6,95%CL11.1-2.4), and methamphetamine dependence seversity (OR=1.6,95%CL1.1-2.5).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43506
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.956
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.956
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574187830.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.