Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43508
Title: | ผลของยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งเต้านมต่อการเปลี่ยนแปลงระยะการเคลื่อนที่ของวงลิ้นหัวใจไตรคัสปิสในช่วงหัวใจบีบตัว |
Other Titles: | EFFECT OF CHEMOTHERAPY FOR BREAST CANCER ON TRICUPID ANNULAR PLANE SYSTOLIC EXCURSION (TAPSE) |
Authors: | อาทิตย์ ทองถนอมกุล |
Advisors: | ศริญญา ภูวนันท์ วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | spuwanant@gmail.com ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เต้านม -- มะเร็ง เคมีบำบัด Breast -- Cancer Chemotheraphy |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผลของยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งเต้านมต่อการเปลี่ยนแปลงระยะการเคลื่อนที่ของวงลิ้นหัวใจไตรคัสปิสในช่วงหัวใจบีบตัว อาทิตย์ ทองถนอมกุล, วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์, สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง, ศริญญา ภูวนันท์ บทคัดย่อ ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: ปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากพบความสัมพันธ์ของยาเคมีบำบัดกลุ่ม Anthracycline ที่ใช้รักษา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กับการลดลงของการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายอย่างชัดเจน แต่การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีน้อย และมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาผลของยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งเต้านมกลุ่ม anthracycline กับการงานของหัวใจห้องล่างขวาโดย ใช้การเปลี่ยนแปลงระยะการเคลื่อนที่ของวงลิ้นหัวใจไตรคัสปิสในช่วงหัวใจบีบตัว จากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบการทำงานของหัวใจห้องล่างขวา โดยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ก่อนและหลังได้รับยาเคมีบำบัดสูตร [cyclophosphamide (600 mg/m2)+adriamycin (60 mg/m2)] ครบ 4 รอบ ผลการศึกษาวิจัย: จากผู้ป่วยที่ศึกษา 100 ราย เป็นเพศหญิงทั้งหมด และมีอายุเฉลี่ย 51±10 ปี เปรียบเทียบการทำงานของหัวใจห้องล่างขวา โดยใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจก่อนและหลังให้ยาเคมีบำบัดครบ พบว่ามีการลดลงของระยะการเคลื่อนที่ของวงลิ้นหัวใจไตรคัสปิสในช่วงหัวใจบีบตัว (tricuspid annular plane systolic excursion: TAPSE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (22 ± 3 กับ 20 ± 3.0 mm, p < 0.001) นอกจากนี้ยังมีพารามิเตอร์คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจของการทำงานหัวใจห้องล่างขวาอื่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับยาเคมีบำบัดครบ ดังนี้ right ventricular fractional area change (56 ±9 กับ 50 ±11 %, p < 0.001), peak systolic tricuspid annular velocity (S’) (13 ± 2 กับ 12 ± 2 mm, p < 0.001), tricuspid E/A ratio (1.4 ± 0.4 กับ 1.3 ± 0.3, p < 0.001) , tricuspid e’ (10.9 ± 2.8 กับ 10.0 ± 2.3 cm/s, p < 0.001) และ Tissue doppler right ventricular Tei index (0.28 ± 0.18 กับ 0.36 ± 0.17 ,p <0.001). บทสรุป: ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งเต้านมกลุ่ม anthracycline มีผลลดระยะการเคลื่อนที่ของวงลิ้นหัวใจไตรคัสปิสในช่วงหัวใจบีบตัว (tricuspid annular plane systolic excursion: TAPSE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | Backgroud: Although left ventricular dysfunction associated with anthracycline therapy has been well established and widely studied. There are paucity and controversial data pertaining right ventricular dysfunction after anthracycline therapy. Objectives: To assess the effects of anthracycline therapy for breast cancer on right heart echocardiographic indices Methods: Echocardiographic data of 103 patients with diagnosed breast cancer who received AC protocol [cyclophosphamide (600 mg/m2)+adriamycin (60 mg/m2)] were analyzed before the onset of the chemotherapy (D1) and after completion of four cycles of the regimen (D2). Results: Of 103 patients, the mean age was 51±10 years, and all were female. Compared with baseline RV systolic echocardioghic parameters (D1), tricuspid annular plane systolic excursion (TAPSE), fractional area change, and peak systolic tricuspid annular velocity (S’) were significantly decreased (22.2 ±3.2 vs. 20.0 ±3.0 mm, p < 0.001; 56 ±9.4 vs. 50.0 ±11.0 %, p < 0.001; 13.1 ±2.1 vs. 12.1 ±1.8 mm, p < 0.001 respectively). Compared with baseline RV diastolic echocardioghic parameters, tricuspid E/A ratio and tricuspid e’ were significantly decreased (1.4 ± 0.4 vs. 1.3 ± 0.3, p < 0.001; 10.9 ± 2.8 vs. 10.0 ± 2.3 cm/s, p < 0.001, respectively) while TV E deceleration time, hepatic venous velocities, and right atrial volume index were not significantly different. RV Tei index was decreased after chemotherapy (0.28 ± 0.18 and 0.37 ± 0.17 ,p <0.001). Conclusion: RV systolic, diastolic and global function was significantly decreased after chemotherapy for breast cancer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43508 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.986 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.986 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574190630.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.