Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43509
Title: | ประโยชน์ของการบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้นในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางและระดับรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยไทย |
Other Titles: | BENEFIT OF UPPER AIRWAY MUSCLE EXERCISES AS A TREATMENT MODALITY IN THE MODERATE TO SEVERE OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA AMONG THAI PATIENTS |
Authors: | อาภากร ภัคกรธนธรณ์ |
Advisors: | นฤชา จิรกาลวสาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | narichac@hotmail.com |
Subjects: | ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การรักษาทางเดินหายใจ การฝึกหายใจ Sleep apnea syndromes Respiratory therapy Breathing exercises |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา การทำงานของกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้นอย่างเพียงพอนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการลดการตีบแคบลงของทางเดินหายใจส่วนต้นในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ ในผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลาง ชาวยุโรปและอเมริกาใต้ แสดงให้เห็นว่าสามารถลดระดับความรุนแรงของภาวะนี้ได้ หลังฝึกบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้น แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยชาวเอเชียที่มีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแตกต่างจากชาวตะวันตก วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและปกปิดสองทางเปรียบเทียบผลของการบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้นกับการบริหารโดยวิธีหายใจเข้าออกลึก โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางหรือระดับรุนแรง จากการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมการรักษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้น และกลุ่มบริหารโดยวิธีหายใจเข้าออกลึก ซึ่งให้ฝึกหายใจเข้าออกลึก ผู้ป่วยทุกรายต้องฝึกออกกำลังกายตามที่กำหนด และวัดผลจากการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ และแบบประเมินอาการแสดงที่เกี่ยวกับภาวะนี้ ก่อนเข้าการศึกษา และภายหลังการบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้น 12 สัปดาห์ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 28 ราย (กลุ่มละ 14 ราย) ผู้ป่วยในกลุ่มบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้น มีการลดลงของ AHI อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและหลังบริหารกล้ามเนื้อ (36.73±17.86 และ 30.68±19.96 ;p=0.13) อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการลดลงของ REM RDI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (38.11±20.24 และ 27.27±17.60 ;p=0.02) ส่วนในกลุ่มบริหารโดยวิธีหายใจเข้าออกลึก มีการลดลงของ AHI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (30.65±13.86 และ 24.13±13.07 ;p=0.04) แต่เมื่อเปรียบเทียบร้อยละของAHIที่ลดลงไม่พบความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (17.07±27.84 และ 17.45±38.08;p=0.73) นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มมีการลดลงของอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้เหมือนกัน สรุป การบริหารกล้ามเนื้อหายใจส่วนต้นไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการลดลงของระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อย่างไรก็ตามก็ยังแสดงให้เห็นถึงการลดลงของ REM RDI และอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ส่วนการฝึกหายใจเข้าออกลึก แสดงให้เห็นถึงการลดลงของระดับความรุนแรงของภาวะนี้ และอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ได้ |
Other Abstract: | Background : Adequate upper airway dilator muscle activity is one of the important factors in reducing upper airway collapsibility among obstructive sleep apnea (OSA). Previous study performed among European and South American patients with moderate OSA demonstrated that oropharyngeal exercise significantly reduced OSA severity. Method : A randomized double blind controlled study was conducted in patients with moderate to severe obstructive sleep apnea. The patients were randomized to oropharyngeal exercise (study group) or deep breathing exercise (controlled group). Duration of study was 12 weeks. Polysomnography parameters and OSA related symptoms were compared between pre and post treatment for each group and between groups. Results : Twenty-eight patients with moderate to severe OSA were randomized to 12 weeks of daily oropharyngeal exercise (n = 14)or deep breathing exercise (n = 14). In the oropharyngeal exercise group, there was an improvement without statistically significant differences in overall AHI when comparison was made between before and after enrollment (36.73±17.86 vs 30.68±19.96 ;p=0.13). However significant reduction in REM respiratory disturbance index (REM RDI) were observed (38.11±20.24 vs 27.27±17.60 ;p=0.02) Interestingly, in the deep breathing exercise group, there was a significant reduction in overall AHI when comparison was made between before and after enrollment (30.65±13.86 vs 24.13±13.07 ;p=0.04). Similar to the oropharyngeal exercise group, significant reduction in RDI was primarily observed during REM sleep (41.40±15.95 vs 25.38±19.16 ;p=0.04). No difference in percentage of AHI reduction between groups (17.07±27.84 vs 17.45±38.08;p=0.73) Both oropharyngeal exercise and deep breathing exercise groups demonstrated significant improvement in OSA-related symptoms in terms of reduction in snoring loudness (oropharyngeal exercise group), snoring frequency (deep breathing exercise group), morning headache symptom (oropharyngeal exercise group), and Epworth Sleepiness Scale score (both groups). Conclusion : Oropharyngeal exercise did not yield significant reduction in overall OSA severity, however improvement in REM RDI and OSA-related symptoms were demonstrated. Deep breathing exercise significantly reduced OSA severity and OSA-related symptoms among moderate to severe OSA. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43509 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.987 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.987 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574191230.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.