Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43510
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศริญญา ภูวนันท์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย | en_US |
dc.contributor.author | อาสา พิชญ์ภพ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:57Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:57Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43510 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | โรคติดเชื้อเยื่อบุหัวใจ ( Infective endocarditis) สามารถพบภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และมีผลต่อพยากรณ์ โรคของผู้ป่วยนั่นคือ ภาวะก้อนติดเชื้อแพร่กระจาย(Systemic embolism) ในปัจจุบัน ข้อมูลของประเทศไทยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของก้อนติดเชื้อ (Vegetation size) กับโอกาสเกิดภาวะก้อนติดเชื้อแพร่กระจายนั้นยังมีจำกัด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อหาความสัมพันธ์ของขนาดก้อนติดเชื้อกับโอกาส การเกิดก้อนติดเชื้อแพร่ กระจายในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเยื่อบุหัวใจฝั่งซ้าย วิธีการศึกษา จากผู้ป่วย 156 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย โรคติดเชื้อเยื่อบุหัวใจอ้างอิงจาก ICD-10 นั้น 95 ราย ถูกคัดออกเนื่องจาก การวินิจฉัยไม่ครบตามเกณฑ์(definite diagnosis) การติดเชื้ออยู่ทางฝั่งขวา มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือ ไม่สามารถนำข้อมูลภาพechocardiogram มาวัดใหม่ มีผู้ป่วย 61 ราย ที่เข้าเกณฑ์การศึกษา วัดขนาดของก้อนติดเชื้อใหม่เทียบกันด้วยผู้วัดสองคน แยกกัน ในส่วนของข้อมูลทางคลินิก นำมาจากแฟ้มประวัติการเป็นผู้ป่วยในและ ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล ผลการศึกษา ผู้ป่วย 61 ราย เป็นเพศชาย 35 ราย (คิดเป็นร้อยละ 57) อายุเฉลี่ย 49 ± 16 ปี พบการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเทียม 8 ราย(คิดเป็นร้อยละ 13) ผู้ป่วยที่พบขนาดของก้อนติดเชื้อมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิเมตร มี 42 ราย(คิดเป็นร้อยละ 69) พบก้อนติดเชื้อที่ ลิ้นไมตรัล 38 ราย(คิดเป็นร้อยละ 62) ลิ้นเอออร์ติก 11 ราย (คิดเป็นร้อยละ 18) ก้อนติดเชื้อทั้งสองลิ้นพบได้ 12 ราย(คิดเป็นร้อยละ 20) Viridan streptococci เป็นเชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุด 11 ราย(คิดเป็นร้อยละ 18) อัตราการเกิดภาวะก้อนติดเชื้อแพร่กระจาย และ อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล 12 ราย และ 6 ราย (คิดเป็นร้อยละ 20 และ ร้อยละ 10) ตามลำดับ สาเหตุของการเสียชีวิตมาจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากที่สุด กลุ่มผู้ป่วยที่มีขนาดของก้อนติดเชื้อ มากกว่าเท่ากับ 10 มิลลิเมตร มีแนวโน้มของการเกิดภาวะก้อนติดเชื้อแพร่กระจายสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ก้อนติดเชื้อขนาดเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ( Odd ratio 6.4, 95%CI [0.76 – 53.63], p value = 0.088 ) ในขณะที่อัตราการเกิดก้อนติดเชื้อแพร่กระจาย ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการติดเชื้อ Staphylococcus ไม่ต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อก่อโรคชนิดอื่น (p value = 0.40) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของก้อนติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิต (Odd ratio=2.43, 95%CI [0.26, 22.39] p value= 0.433) ผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่ามีแนวโน้มเสียชีวิตมากชึ้น (Odd ratio 5.9, 95%CI [0.97-35.52], p value 0.055) มีจำนวนผู้ป่วยที่ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจทั้งสิ้น 28 ราย (คิดเป็นร้อยละ 46) โดย ภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะลิ้นหัวใจรั่วรุนแรง เป็นข้อบ่งชี้ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ 25 ราย (คิดเป็นร้อยละ 41) สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยที่มีขนาดของก้อนติดเชื้อมากกว่าเท่ากับ 10 มิลลิเมตร มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะก้อนติดเชื้อแพร่กระจายเพิ่มขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ขนาดก้อนติดเชื้อเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ในส่วนของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย พบว่าไม่ขึ้นกับขนาดของก้อนติดเชื้อ และสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากกว่าเท่ากับ 60 ปี พบมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจสูงขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Embolic phenomenon in infective endocarditis (IE) carries a great impact on prognosis. However, there have been limited data regarding the relationship between vegetation size and embolic events and clinical outcomes in patient population in Thailand. Objective: To assess the relationship between vegetation size and risk of systemic embolization in patient with left-sided infective endocarditis. Methods: Of 156 patients who were diagnosed with infective endocarditis according to ICD-10, 95 were excluded because of right sided IE, congenital heart disease, no echocardiographic images available to analyze, and unmet criteria. Sixty-one echocardiographic studies were remeasured the size of vegetation by two observers, who were blinded with clinical outcomes, independently. The clinical data were extracted from the medical records and correlated with echocardiographic studies. Results: Of 61 enrolled patients, 57% (n=35) were male and the mean age = 49 ±16 years. Of those 61 patients, 8 (13%) had prosthetic valve endocarditis. Sixty-nine percent (n=42) of patients had vegetation ≥ 10 mm. Vegetation was found on mitral, aortic, and both valves for 62% (n=38), 18 %(n=11), and 20% (n=12) respectively. The most common organism was Viridan streptococci which was found in 18% (n=11) of those patients. Of 61 patients, 12 (20%) and 6 (10%) patients had systemic embolization and inhospital death respectively. The major causes of death were septic shock and uncontrolled infection. There was a trend toward higher rate of systemic embolization in patient with vegetation size ≥ 10 mm (Odd ratio 6.4, 95%CI [0.76-53.63], p value=0.088) while Staphylococcus infection did not significantly carry higher embolization rate (p=0.40) or mortality. There was no significant association between vegetation size and mortality rates (Odd ratio=2.43, 95%CI [0.26, 22.39] p value= 0.433). Patients with age ≥ 60 years tended to have higher mortality (Odd ratio 5.9, 95%CI [0.97 – 35.52], p value=0.055). Surgery was performed in 28 patients (46%), mostly due to heart failure or severe valvular regurgitation (n=25). Conclusions: Risk of systemic embolization in patients with vegetation size of ≥ 10 mm was 6 times greater than those with vegetation size of < 10 mm. However, the size of vegetation did not determine mortality in these patients whereas those with age ≥ 60 years tended to have higher mortality associated with IE. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.988 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เยื่อบุหัวใจอักเสบ | |
dc.subject | การติดเชื้อ | |
dc.subject | Endocarditis | |
dc.subject | Infection | |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดก้อนติดเชื้อเวเจเทชันที่เยื่อบุหัวใจฝั่งซ้ายกับโอกาสการเกิดก้อนติดเชื้อแพร่กระจายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Relationship Between Vegetation Size and Systemic Embolization in Patient with Left-sided Infective Endocarditis in King Chulalongkorn Memorial Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | spuwanant@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.988 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574192930.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.