Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43514
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสัญชัย พยุงภรen_US
dc.contributor.advisorพิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์en_US
dc.contributor.authorพรพิตรา ประเทศรัตน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:59Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:59Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43514
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractไมโครอาร์เอ็นเอเป็นอาร์เอ็นเอที่ไม่แปลรหัสขนาดเล็กประมาณ 22 นิวคลิโอไทด์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแสดงออกของยีนและเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ ปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า single nucleotide polymorphisms (SNPs) บนยีนของไมโครอาร์เอ็นเอ เช่น miR-149 (rs2292832), miR-499 (rs3746444) และ miR-101-1 (rs7536540) มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma, HCC) ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง (chronic hepatitis B, CHB) งานวิจัยนี้เป็นการรายงานครั้งแรกที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง SNPs ดังกล่าวและการเกิดมะเร็งตับในประชากรไทยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง โดยผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังและเป็นมะเร็งตับ (CHB-related HCC) จำนวน 166 ราย กลุ่มผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังแต่ไม่เป็นมะเร็งตับ (CHB without HCC) จำนวน 159 ราย และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (healthy controls) จำนวน 167 ราย สำหรับการหาจีโนไทป์ของ miR-149 (rs2292832) และ miR-101-1 (rs7536540) ทำด้วยวิธี allelic discrimination assays โดยอาศัยเทคนิค TaqMan real-time PCR ในขณะที่การหาจีโนไทป์ของ miR-499 (rs3746444) ใช้เทคนิค PCR-RFLP ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าจีโนไทป์และอัลลีลของ miR-149 (rs2292832), miR-101-1 (rs7536540) และ miR-499 (rs3746444) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุม (P>0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า SNPs ทั้ง 3 ตำแหน่งไม่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการเกิดมะเร็งตับ และไม่อาจใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม (genetic marker) สำหรับมะเร็งตับในประชากรไทยได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้มีข้อจำกัดคืออายุและเพศของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ประชากรที่มีอายุและเพศสอดคล้องกันในแต่ละกลุ่ม เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่าง SNPs ดังกล่าวและการเกิดมะเร็งตับในประชากรไทยต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeMicroRNAs (miRNAs) are small non-coding RNAs with approximately 22 nucleotides in length which play an important role in regulation of gene expression and related with several processes of the cells. At the present time, several reports indicated that single nucleotide polymorphisms (SNPs) within miRNA genes such as miR-149 (rs2292832), miR-499 (rs3746444) and miR-101-1 (rs7536540) were associated with the risk of hepatocellular carcinoma (HCC) development in patients with chronic hepatitis B (CHB). This study is the first report that describes the association between these SNPs and HCC in Thai patients with CHB. Subjects were categorized into 3 groups comprising CHB-related HCC (n=166), CHB without HCC (n=159) and healthy controls (n=167). Genotyping of miR-149 (rs2292832) and miR-101-1 (rs7536540) SNPs were performed by using allelic discrimination assays based on TaqMan real-time PCR whereas genotyping of miR-499 (rs3746444) was detected by PCR-RFLP. Data analysis revealed that genotypes and alleles of miR-149 (rs2292832), miR-101-1 (rs7536540) and miR-499 (rs3746444) were not statistically different between case and control groups (P>0.05). In conclusion, these 3 SNPs were not significantly associated with the risks of HCC and might not be able to use as genetic markers for HCC development in Thai population. However, the limitation of this study was unmatched of age and sex between case and control groups. Thus, further case-control study with age and sex matched among each group is necessary in order to control confounding factors and confirm the association of these SNPs with the risk of HCC in Thai population.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.959-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไวรัสตับอักเสบบี -- ผู้ป่วย
dc.subjectตับ -- มะเร็ง -- ความเสี่ยง
dc.subjectมะเร็ง -- แง่พันธุศาสตร์
dc.subjectHepatitis B virus -- Patients
dc.subjectLiver -- Cancer
dc.subjectCancer -- Genetic aspects
dc.titleความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีน miR-149, miR-499 และ miR-101-1 ที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeSINGLE NUCLEOTIDE POLYMORPHISMS (SNPS) ON MIR-149, MIR-499 AND MIR-101-1 GENE RELATED TO DEVELOPMENT OF HEPATOCELLULAR CARCINOMA (HCC) IN THAI PATIENTS WITH CHRONIC HEPATITIS B VIRUSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีทางการแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSunchai.P@chula.ac.then_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.959-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574203130.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.