Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43532
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | เกวลี ฉัตรดรงค์ | en_US |
dc.contributor.author | กนกวรรณ ธรรมประดิษฐ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:39:08Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:39:08Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43532 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | สัตว์ป่าตระกูลแมวมีการสร้างน้ำเชื้อที่มีอสุจิรูปร่างผิดปกติในสัดส่วนที่มากกว่าอสุจิรูปร่างปกติ และอสุจิรูปร่างผิดปกติจะถูกคัดทิ้งก่อนได้รับการเก็บรักษาด้วยวิธีการแช่แข็งและก่อนการทำเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การปฏิสนธินอกร่างกาย (ไอวีเอฟ และอิ๊กซี่) ทำให้มีการสูญเสียสารพันธุกรรมของสัตว์ตระกูลนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ1) ประเมินประสิทธิภาพของการปั่นแยกชั้นเดียว (single-layer centrifugation, SLC) ในการแยกอสุจิรูปร่างปกติและผิดปกติ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของตัวอสุจิที่รูปร่างผิดปกติก่อนการแช่แข็งและภายหลังการแช่แข็งที่ได้จากการหลั่งน้ำเชื้อและจากการเก็บจากอิพิดิไดมิส และ3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพตัวอสุจิรูปร่างปกติและผิดปกติก่อนแช่แข็งและภายหลังแช่แข็งที่ได้จากการหลั่งน้ำเชื้อและจากเก็บจากอิพิดิไดมิส โดยใช้ตัวอย่างอสุจิจากการเก็บจากอิพิดิไดมิสจากแมวบ้าน 12 ตัวอย่าง โดยแต่ละตัวอย่างเก็บจากอิพิดิไดมิส 4 ชิ้น และจากการรีดน้ำเชื้อด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าจากแมว 26 ตัว และทำการแยกเซลล์ด้วยเทคนิค SLC เมื่อได้อสุจิรูปร่างปกติและผิดปกตินำมาประเมินคุณภาพและแยกเก็บรักษาด้วยวิธีการแช่แข็ง และทำการการละลายเพื่อตรวจคุณภาพอีกครั้ง ผลที่ได้พบว่าการคัดแยกเซลล์ด้วยวิธี SLC ในตัวอย่างอสุจิรูปร่างปกติจากการเก็บจากอิพิดิไดมิสและจากการหลั่งน้ำเชื้อ พบว่า recovery rate เท่ากับ 31.0 ± 23.0 และ 30.8 ± 20.6 (ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ตามลำดับ ส่วนร้อยละการเคลื่อนที่ ระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และคุณภาพอสุจิดีขึ้นในส่วนของรูปร่างหาง ความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์และอะโครโซมของอสุจิรูปร่างปกติ มีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอสุจิรูปร่างผิดปกติ (p < 0.05) และอสุจิรูปร่างปกติที่ได้จากการหลั่งน้ำเชื้อยังมีรูปร่างส่วนหัวปกติที่สูงกว่า (p < 0.05) และหลังจากการแช่แข็งและจากการละลายพบว่าอสุจิรูปร่างปกติยังคงมีค่าร้อยละการเคลื่อนที่ ระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และรูปร่างส่วนหางปกติที่สูงกว่าอสุจิรูปร่างผิดปกติที่ได้จากทั้งสองแหล่ง ความสมบูรณ์ของสารพันธุกรรมของอสุจิทั้งจากการเก็บจากอิพิดิไดมิสและการหลั่งน้ำเชื้อพบว่าไม่มีความแตกต่างในอสุจิทั้ง 2 กลุ่ม (p > 0.05) เมื่อเปรียบเทียบร้อยละการลดลงของการเคลื่อนที่และระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหลังจากการแช่แข็งและการละลายพบว่าอสุจิรูปร่างผิดปกติพบว่ามีค่ามากกว่าอสุจิรูปร่างปกติ (p < 0.05) จึงแสดงให้เห็นว่า SLC สามารถคัดแยกความแตกต่างเรื่องการเคลื่อนที่ รูปร่างส่วนหาง ความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์และอะโครโซมได้ และอสุจิรูปร่างผิดปกติสามารถเก็บรักษาโดยกระบวนการแช่แข็งได้ ถึงแม้ว่าอัตราการเคลื่อนที่ ระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์และอะโครโซมของอะโครโซมลดลงอย่างมาก (p < 0.05) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Feline semen samples that contain high number of morphologically abnormal sperm are discarded from semen freezing protocol and biotechnology i.e. IVF and ICSI. This may lead to a loss of genetic materials. The aims of study were 1) to evaluate the efficiency of single-layer centrifugation (SLC) to separate morphologically normal and abnormal sperm 2) to compare frozen-thawed quality of normal and abnormal versus ejaculated and epididymal spermatozoa and 3) to evaluate the quality of morphologically abnormal ejaculated and epididymal spermatozoa following freezing-thawing. Twelve unit samples; each contained sperm from the caudal epididymis of four cats and thirteen ejaculated sperm samples; each collected from two cats were studied and to separate morphologically normal and abnormal sperm by SLC and follow frozen – thawed process. Sperm quality was evaluated; head and tail morphology, sperm membrane integrity, acrosome integrity and DNA integrity, after centrifugation and freezing and thawing. After SLC, the normal morphologically epididymal and ejaculated spermatozoa had recovery rate of 31.0 ± 23.0 and 30.8 ± 20.6 (mean ± SD), respectively and improved total motility (TM), progressive motility (PM), tail morphology, integrity of sperm membrane and acrosome than abnormal ones (p < 0.05). Moreover, the normal morphologically ejaculated spermatozoa had better normal head morphology (p < 0.05). After thawing, TM, PM, and normal tail of normal morphologically epididymal and ejaculated ones except intact sperm membrane and acrosome were higher than abnormal ones (p < 0.05). However, DNA integrity of normal morphologically epididymal and ejaculated spermatozoa did not differ from abnormal morphologically spermatozoa after SLC and thawing (p > 0.05). In conclusion, SLC was efficient at separating morphologically normal/abnormal spermatozoa of both sources, i.e. epididymal and ejaculated particularly tail morphology defect. Abnormal morphologically spermatozoa can be preserved following freezing and thawing protocol. However, TM, PM and intact plasma membrane and acrosome were significantly low (p < 0.05). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.968 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แมว -- การสืบพันธุ์ | |
dc.subject | อสุจิแช่แข็ง -- คุณภาพ | |
dc.subject | Cats -- Reproduction | |
dc.subject | Frozen semen -- Quality | |
dc.title | คุณภาพน้ำเชื้อภายหลังการแช่แข็งของตัวอสุจิรูปร่างผิดปกติที่เก็บจากอิพิดิไดมิสและจากการหลั่งน้ำเชื้อแมว | en_US |
dc.title.alternative | Frozen-thawed quality of morphologically abnormal epididymal and ejaculated cat sperm | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | sponglowhapan@googlemail.com | en_US |
dc.email.advisor | Kaywalee.C@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.968 | - |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5575301131.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.