Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43572
Title: สมรรถนะด้านพลังงานของหลังคาแผ่รังสีความร้อนสูง ชนิดมวลเบา
Other Titles: THERMAL PERFORMANCE OF LIGHTWEIGHT NOCTURNAL ROOF RADIATOR
Authors: ดนู กตัญญุตานันท์
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: atch.s@chula.ac.th
Subjects: การทำความร้อน
อาคาร -- การออกแบบและการสร้าง
Heating
Buildings -- Design and construction
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน โลกกำลังประสพปัญหาด้านวิกฤติพลังงาน การพัฒนาการทำความเย็นด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในสังคมเมืองเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ Baruch Givoni ได้เสนอแนวทางในชื่อว่า "หลังคาแผ่รังสีความร้อนสูง ชนิดมวลเบา" (เป็นการแปลจาก Lightweight nocturnal roof radiators) โดยใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนรูปแบบหลังคา โดยในเวลากลางคืนใช้การแผ่รังสีความร้อน ประกอบกับการทำความเย็นโดยวิธีธรรมชาติด้วยการระบายอากาศเพื่อทำความเย็น และในเวลากลางวัน ใช้ความเป็นฉนวนเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนเข้ามาในอาคาร จากการทดลองด้วยกล่องทดลอง เพื่อหาค่าประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนของหลังคาที่เกิดขึ้นจากระบบพบว่า หลังคาเหล็กสีดำ ช่องว่างใต้หลังคา 10 cm. มีความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนกลับคืนสู่ท้องฟ้าได้ดีที่สุด หลังจากนั้น เมื่อได้ทำการจำลองทางคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม VisualDOE โดยทดสอบกับบ้านจากโครงการ แบบบ้านยิ้ม ของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย สังกัดกรุงเทพมหานคร ในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ฤดูฝน พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนชั่วโมงน่าสบายภายในอาคาร ในช่วงที่มีการใช้งาน ตลอดทั้งปีได้มากขึ้นกว่า 1.7 เท่า และสามารถลดอุณหภูมิภายในอาคารเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารตัวอย่างได้ เฉลี่ย 2.43°C เมื่อทำการวิเคราะห์ความคุ้มทุนในแง่พลังงาน และทางการเงิน โดยเปรียบเทียบกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในระบบปรกติ พบว่ามีความคุ้มค่าของการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น โดยคิดเป็น 146.59 kWh/°C ในขณะที่เครื่องปรับอากาศมีค่าถึง 862.41 kWh/°C รวมถึงจำนวนเงินสุทธิตลอดอายุการใช้งานอาคารที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน มีความคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
Other Abstract: Although air conditioning systems can easily create a comfortable environment, as a consequence that mechanical cooling can create a negative environmental impact and global energy problems. Passive cooling is a method that vernacular architecture has been using for a long time. The way people live has changed by modern life, so vernacular architecture is not suitable for many people anymore. This study is to investigate the energy performance of the “lightweight nocturnal radiator roof” that Givoni Baruch presented. It creates a passive cooling system that in the night time uses advantageous radiative cooling via a ventilative cooling compound. The experiment showed that at night the lightweight nocturnal radiator roof that uses a metal sheet roof with black paint and 10cm. attic gap has the best thermal transmittance. After that, with simulation of VisualDOE 4.1 in “Ban Yim,” a residential house from the Housing Development Office Bangkok Metropolitan Administration, in the non-rainy seasons during operation hours, it was found that the lightweight nocturnal radiator roof can increase comfort hours more than 1.7 times and reduce the average temperature 2.43°C When calculating the energy analysis and financial analysis to compare with the normal HVAC system, it was found that the lightweight nocturnal roof radiator is more valuable in regards to additional energy and additional net value per average, both of which were reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43572
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1042
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1042
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673318625.pdf10.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.