Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43626
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | en_US |
dc.contributor.advisor | ยิ่ง กีรติบูรณะ | en_US |
dc.contributor.author | หงษ์ฟ้า ธีรวงศ์นุกูล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:43:23Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:43:23Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43626 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุน และอุปสรรคของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาแล้วไปใช้ โดยการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1) การวางแผนพัฒนาโปรแกรมโดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน โดยการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนที่ศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 396 คน 2) การออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนและการนำโปรแกรมไปทดลองใช้ โดยการวิจัยกึ่งทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน 30 คน 3) การประเมินผลและการตรวจสอบโปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการนำโปรแกรมไปใช้ 4) การปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของโปรแกรมที่นำไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคม ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ในการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น โดยมีพฤติกรรมที่คาดหวังด้าน (1) การค้นพบความถนัดและบุคลิกภาพของตนเอง (2) การค้นพบจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง (3) การมีทักษะในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางสู่ความสำเร็จ 2) ทักษะทางสังคมโดยมีพฤติกรรมที่คาดหวังด้าน (1) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด (3) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และส่วนใหญ่ต้องการให้มีรูปแบบของการจัดกิจกรรม คือ การจัดค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำเพ็ญประโยชน์ และการศึกษาเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ ส่วนใหญ่เห็นว่าที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมค่ายคือ 3 วัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมมากที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน นำองค์ความรู้มาวางแผนพัฒนาโปรแกรม ตามแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมของ Boone และบูรณาการการเรียนรู้จากแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb และแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสของ Sarkar มาเป็นขั้นตอนการจัดกิจกรรมของโปรแกรม 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและสร้างภาพพจน์ของตนเองทางบวก 2) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้โดยสังเกตและไตร่ตรองประสบการณ์ร่วมกัน 3) การสรุปความคิดรวบยอด 4) การตรวจสอบความคิดรวบยอดด้วยการลงมือปฏิบัติ และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ผู้วิจัยจะใช้การจูงใจในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรม กิจกรรมค่าย มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคม พบว่าเมื่อผู้เรียนได้เข้ารับโปรแกรมที่ผู้วิจัยจัดให้แล้ว มีการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ 3. ผลศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและอุปสรรคของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาแล้วไปใช้ปัจจัยที่สนับสนุนมีปัจจัยภายใน ได้แก่ นโยบายของแต่ละศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องส่งเสริมให้ชัดเจน บุคลากรมีการฝึกอบรมให้เป็นวิทยากรกระบวนการ เลือกใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ที่มีในชุมชนและต้องจัดเตรียมให้พร้อมและเพียงพอ มีแรงจูงใจจากภายในศาสนาที่ยึดถือหลักศีลธรรม และการตระหนักในคุณค่าที่ไม่มีเงื่อนไข ความรัก และการพัฒนาตนเอง ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องยอมรับให้นำโปรแกรมนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ครูและผู้บริหารเห็นความสำคัญให้สนับสนุนทรัพยากรและจัดสรรงบประมาณสำหรับโปรแกรม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study were to 1) analyze situations in terms of problems and needs in enhancing self-esteem and social skills for non-formal education students 2) develop and implement the program 3) study the relevant factors that support and obstruct the implementation of the program. The research and development design was divided into 4 phases: 1) Planning the development of a program by analyzing the state in term of problems and needs to enhance self-esteem and social skills for non-formal education students, using a survey research from sample group of 396 non-formal education students studying in basic education, upper secondary level in the second semester academic year 2012; 2) Design and Implementation of a Planned Program for 30 subjects; 3) Evaluation and Accountability to study supportive factors and obstacles in implementing the planned program; 4) Develop the planned program by correcting the weakness. The research findings were as follows: 1. Problems were identified in 4 areas: 1) self-esteem awareness; with 3 expected behaviors 2) critical thinking, decision making, and creative problem solving; 3) emotional and stress management; 4) building good relationships. The learning needs and required skills were based upon the identification of the four problem areas and the skills needed. 2. The process was under a three-process program of Boone (2002): planning, design of a program, implementation, evaluation and accountability. It was divided into four phases. The learning activities were from the result of integrating two learning theories: experiential learning and Neo-humanist education. The four steps of each learning activity were: 1) building a relaxing learning atmosphere and promoting self-image, 2) exchanging learning experiences by observing and reflecting on the experience together, 3) summarizing learning concepts; 4) monitoring the concepts by acting and practicing regularly. Students were motivated by researcher in every step of the activities in order to enhance self-esteem and social skills for non-formal students attending the program. After the experiment the experimental group scored significantly higher than before the experiment at the significance level of .05 in the three aspects, namely knowledge, attitude, and skills. 3. Relevant factors which supported the implementation of the program were both intrinsic motivations and extrinsic motivations. Intrinsic motivations were: 1) promoting policy of each non-formal and informal education center having clear 2) trained facilitators; moral awareness, unconditional worth, love and personal growth. extrinsic motivation Non-formal Education Policy, facilitators, opportunity for experience reflection, and the obstacle might be the lack of trained facilitators. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1093 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | |
dc.subject | การประเมินตนเอง | |
dc.subject | ทักษะทางสังคม | |
dc.subject | Non-formal education | |
dc.subject | Self-evaluation | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมสำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF A PROGRAM TO ENHANCE SELF-ESTEEM AND SOCIAL SKILLS FOR NON-FORMAL EDUCATION STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | archanya@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1093 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5184506627.pdf | 4.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.