Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43649
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชื่นชนก โควินท์en_US
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ หงษ์วิทยากรen_US
dc.contributor.authorเกียรติศักดิ์ แสงอรุณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:37Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:37Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43649
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยในการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์รูปแบบการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน ตลอดจนนำเสนอกลยุทธ์การป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน โดยใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันมีการจัดการอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการฝึกสมาธิ กิจกรรมเพื่อการปราบปรามจะทำการสุ่มตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมายและตรวจปัสสาวะ ส่วนกิจกรรมเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูมีการดำเนินการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน บทบาทเด่นของสถานศึกษาคือการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรมโดยสอดแทรกไปในการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียน ปัญหาด้านงบประมาณเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในดำเนินการป้องกันการกระทำผิดและปัญหาด้านวิธีการการดำเนินการปราบปรามที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับภาคส่วนอื่นคือการลงโทษด้วยการตี ส่วนปัจจัยสำคัญในการดำเนินการป้องกันการกระทำผิดของนักเรียนที่สำคัญมากคือการเอาใจใส่ของผู้ปกครอง สถานศึกษามีการกำหนดโครงสร้างให้ฝ่ายกิจการนักเรียนหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการป้องกันการกระทำผิดของนักเรียน ดำเนินมาตรการทั้งเชิงรุกที่สถานศึกษาจัดเองและในเชิงรับซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว และศาสนสถาน ตำรวจเป็นกลไกในการปราบปรามการกระทำผิดที่สำคัญและควรมีตำรวจท้องที่อยู่ในคณะกรรมการสถานศึกษาด้วยเพื่อเป็นการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้หากนำรูปแบบการกระทำผิดของสถานศึกษาต่างๆ มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพบว่ากลยุทธ์ที่เกิดขึ้นมีทั้งส่วนที่เหมือนและต่างกันตามสังกัดและพื้นที่ เมื่อนำจุดร่วมสู่การพิจารณากลยุทธ์ในการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานได้ 7 กลยุทธ์คือ 1) กลยุทธ์ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน 2) กลยุทธ์ด้านการป้องปราม/ปราบปราม 3) กลยุทธ์ด้านการแก้ไขฟื้นฟู/ปรับเปลี่ยน 4) กลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถานศึกษา 5)กลยุทธ์การเสริมสร้างบทบาทและองค์ความรู้แก่กลุ่มภาคีเครือข่าย 6) กลยุทธ์ด้านการผลักดันนโยบาย และ 7) กลยุทธ์การพัฒนาระบบงานและการติดตามผล ซึ่งการนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงสภาพบริบทพื้นที่ของสถานศึกษาว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครอบครัว ศาสนสถาน ชุมชนและภาครัฐ ว่ามีจุดมุ่งหมายและความพร้อมในการดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับสถานศึกษาหรือไม่en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the conditions , problems and factors in the prevention of juvenile delinquency in basic education , analyze pattern the prevention of juvenile delinquency by using school-based, as well as offering strategies for preventing juvenile delinquency by using school-based. The researcher use both quantitative and qualitative method to collect data. The tools used in this research were questionnaires, interviews, recording sessions for the focus group discussion. The results showed that the activities of the school for immunization is to train about knowledge , moral and meditation , the activities to suppress is a random raid illegal and urine and the rehabilitation activities is the implementation of social service activities in school and outside of school. The main role of school is learning by incorporating the moral teaching in the classroom to the student immunization. The budget is the most important issue in the action against the offender. Important factors for prevention of delinquency of pupils is the parents to take care of their children. Patterns school-based prevention for juvenile delinquency found that schools structured for students affairs or commission administrative is primarily responsible. They measure both proactive and reactive, which was organized in collaboration with external agencies. Therefore, schools must work collaboratively with partners in society. Especially closely, family institution and religious institutions and the police station, which is a mechanism for suppressing the major culprit and should have appeared in the local police with the school board to set policies more efficient. School-based prevention strategies for juvenile delinquency have 7 sub-strategies include: 1) strategies immunization 2 ) strategies repression / suppression, 3 ) strategies to rehabilitate/modify 4. ) strategies to develop the role of school 5) strategies to strengthen the role and knowledge to their network associates 6 ) strategies advocacy and 7 ) strategies to develop and monitor systems. To get the most out of these strategies, the users have to consider whether the circumstances of school including family institutions, religious institutions, community and government organization have the goals and operation availability which are consistent with those of school.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1103-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็กกับศีลธรรมจรรยา
dc.subjectภูมิคุ้มกัน
dc.subjectImmunity
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการนำเสนอกลยุทธ์การป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานen_US
dc.title.alternativePROPOSED SCHOOL-BASED PREVENTION STRATEGIES FOR JUVENILE DELINQUENCYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkchuench@chula.ac.then_US
dc.email.advisorubonwan_h@yahoo.com
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1103-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284205827.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.