Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐen_US
dc.contributor.authorธนภัทร เต็มรัตนะกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:41Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:41Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43655
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มุ่งวิเคราะห์และเปรียบเทียบการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเขตและนอกเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ “การวิจัยแบบผสมผสาน” (Mixed-Method Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมในเขตเทศบาลจำนวน 445 คน และนอกเขตเทศบาลจำนวน 427 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมในเขตเทศบาลจำนวน 5 คน และนอกเขตเทศบาลจำนวน 5 คน โดยผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล โดยเป็นข้อได้เปรียบเรื่องความรู้ในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต การใช้จ่ายเพื่อการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต และการส่งเสริมทางสังคมในเรื่องการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังทำให้พบแนวทางในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิม โดยในส่วนของการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตพบว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมได้ทำการพิจารณาความพร้อมของตนเองโดยเรียงตามลำดับต่อไปนี้ ได้แก่ 1) การมีความจำเป็นในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต 2) การมีความรู้ในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต 3) การมีเวลาในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต 4) การควบคุมตนเองในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต และ 5) การหาใช้สื่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยพบว่าการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และในส่วนของการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นพบว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิมได้กำหนดกลยุทธ์การใช้ประโยชน์โดยนำเอาหลักศาสนาอิสลามมาประยุกต์ใช้ ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงรุกที่นำเอาหลักการเรื่อง “หน้าที่ของสตรีมุสลิม” มาใช้ในการเลือกใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ต และหลักการเรื่อง “สิทธิของสตรีมุสลิม” มาใช้ในการสร้างทางเลือกใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ต และกลยุทธ์เชิงรับที่นำเอาหลักการเรื่อง “การปกป้องตนเองของสตรีมุสลิม” มาใช้ในการเลือกไม่ใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ต โดยพบว่าจุดมุ่งหมายของกลยุทธ์คือการทำให้สตรีมุสลิมเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือสื่อที่ตนเองเลือกใช้มิใช่ให้สื่อเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเหนือสตรีมุสลิมen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were to compare the internet access and utilization of the Muslim women living in the municipality and non-municipality areas of Mueang Pattani district, Pattani province. This study was conducted by mixed-method research approach which combined quantitative and qualitative research methodologies. A questionnaire was to employ for collecting information from 445 Muslim women in municipality area and 427 Muslim women in non-municipality area. Also, a focus group interview was conducted for gathering depth information from 10 selected Muslim women living in the areas. The results found that Muslim women living in the municipality area had more advantages on internet access than the Muslim women living in the non-municipality area which include internet knowledge, economic expense, and social support. This study also found that the Muslim women had created unique methods for accessing and utilizing the internet for their communication purposes. The unique method of internet access was to proceed the following steps: 1) to have internet necessity 2) to have internet knowledge 3) to have internet usage time 4) to have self-control on internet usage and 5) to have internet availability, and it was revealed that the complete implementation of the method must be proceeded orderly in order to gain full social support. In addition, the study also found that the Muslim women had brought some Islamic teachings to build unique strategies for utilizing the internet including offensive and defensive strategies. The offensive strategy was to employ Islamic knowledge on “roles of Muslim women” for accepting some aspects of the internet, to employ Islamic knowledge on “rights of Muslin women” for reconstructing some aspects of the internet, and to employ Islamic knowledge on “protection of Muslim women” for rejecting some aspects of the internet. It was found that the objective of employing the strategies was to empower the Muslim women on the issue of the internet utilization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1117-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ต
dc.subjectอินเทอร์เน็ต -- แง่สังคม
dc.subjectInternet
dc.subjectInternet -- Social aspects
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของสตรีมุสลิมที่อาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลของอำเภอเมืองปัตตานีen_US
dc.title.alternativeTHE STUDY OF MUSLIM WOMEN’S INTERNET ACCESS AND UTILIZATION: A STUDY FROM MUSLIM WOMEN IN MUNICIPALITY AND NON-MUNICIPALITY AREAS OF MUEANG PATTANI DISTRICTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorjoy.chartprasert@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1117-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5285103628.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.