Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43679
Title: การออกแบบกระบวนการการประเมินคุณภาพสีน้ำทิ้งในภาคอุตสาหกรรม
Other Titles: DESIGN OF QUALITY EVALUATION PROCESS FOR WASTEWATER COLOR IN INDUSTRY SECTOR
Authors: ทิวาวรรณ คงคาศรี
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fieckp@eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
โรงงานทอผ้า
โรงงาน -- การกำจัดของเสีย
Sewage -- Purification
Textile factories
Factories -- Waste disposal
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประเมินคุณภาพสีน้ำทิ้งว่าป็นที่พึงรังเกียจ ควรมีการประเมินทั้งทางเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพราะจะให้ผลการประเมินสีน้ำทิ้งนั้นมีความน่าเชื่อถือขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกระบวนการสำหรับการประเมินคุณภาพสีน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งกระบวนการนั้นต้องสามารถแสดงความสัมพันธ์ของลักษณะของสีน้ำทิ้งที่พึงรังเกียจด้วยดัชนีทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งดัชนีอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป งานวิจัยนี้ใช้น้ำทิ้งจากโรงงานย้อมผ้าเป็นกรณีศึกษา ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 1) ทำการทบทวนกับผู้เชี่ยวชาญถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสีน้ำทิ้งและวิธีการวิเคราะห์สีน้ำทิ้งตามมาตรฐานสำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการหารูปแบบของการกำหนดระดับสีน้ำทิ้ง 2) ทำการประเมินคุณภาพตัวอย่างสีน้ำทิ้ง ดังนี้ 2.1) การประมาณการมองเห็นสีน้ำทิ้งเมื่อเทียบกับแถบสีน้ำทิ้งด้วยระบบสีมันเซลล์ และ 2.2) การประมาณการมองเห็นสีน้ำทิ้งเมื่อเทียบกับค่าดัชนีทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ ค่าสี ค่าความขุ่น ค่าบีโอดีและค่าซีโอดี 3) ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของค่าดัชนีต่างๆ ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่า ค่าสีน้ำทิ้งที่ “ไม่เป็นที่พึงรังเกียจ” เมื่อเทียบกับแถบสีของระบบมันเซลล์จะมีค่าน้ำหนักของสีในตำแหน่งที่ 9 และมีค่าความอิ่มตัวของสีในตำแหน่งที่ต่ำกว่า 4 ส่วนสีน้ำทิ้งที่ “เป็นที่พึงรังเกียจ” เมื่อเทียบกับดัชนีทางห้องปฏิบัติการจะมีค่าสีมากกว่า 163 ADMI ขึ้นไป ค่าสีน้ำทิ้งที่เป็นที่พึงรังเกียจนี้จะมีความสัมพันธ์กับค่าซีโอดี (ที่ r= 0.80) งานวิจัยนี้ยังได้ข้อสรุปอีกว่า ผลการประมาณการมองเห็นสีน้ำทิ้งเมื่อเทียบกับแถบสีน้ำทิ้งด้วยระบบสีมันเซลล์มีความสอดคล้องกับผลการประมาณการมองเห็นสีน้ำทิ้งเมื่อเทียบกับค่าดัชนีคุณภาพน้ำทางห้องปฏิบัติการ การออกแบบกระบวนการการประเมินคุณภาพสีน้ำทิ้งที่ได้นำเสนอนี้สามารถช่วยให้ผลการประเมินคุณภาพสีน้ำทิ้งมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
Other Abstract: To evaluate the wastewater color that is objectionable should be performed both qualitative and quantitative, so that the results of the evaluation are more reliable. Therefore, this research aims to design a process for evaluating wastewater color that effluents from industry sector. This process would be able to indicate the nature of the objectionable wastewater color by laboratory indices and other commonly accepted indices. In this research, the wastewater from drainage of a dyeing factory was a case study. The procedure of this research had three major steps. The first step was to review with the experts related to a) the factors that affect wastewater color, b) the evaluation process and the color analysis standards for industrial wastewater, and c) the pattern of the color levels. The second step was to design and perform the evaluation process and the color analysis. The sub-steps comprised 2.1) subjective evaluation (visual analysis) of wastewater compared to the color bar of the Munsell color system, 2.2) subjective evaluation (visual analysis) compared to the laboratory indices. These indices comprised color, turbidity, BOD, and COD. The third step was to analyze the relationship of these indices. The results showed that for "not objectionability" of the wastewater color from the dye factory, value of color should equal in position 9 and choma should not over in position 4, while for "obectionability" of the wastewater, ADMI of color should be higher than 163. In addition, there was the correlation between ADMI and COD (r = 0.80). It also could be concluded that the results of color subjective evaluation compared to the Munsell color system was consistent with the subjective evaluation compared to the laboratory indices. The proposed process in this research could help to make the wastewater color evaluation was more reliable.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43679
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1133
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1133
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370642021.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.