Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43685
Title: การศึกษาการขยายขนาดการผลิตพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบปั่นกวน
Other Titles: SCALE UP OF POLYALUMINIUM CHLORIDE PRODUCTION IN STIRRED TANK REACTOR
Authors: ชุตินันท์ ชาญพานิชย์
Advisors: เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Che462@yahoo.com
Subjects: โพลิเมอไรเซชัน
เครื่องปฏิกรณ์
กังหัน
การแยกสลายด้วยน้ำ
Polymerization
Turbines
Hydrolysis
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของชนิดใบพายและความเร็วรอบในการปั่นกวนที่มีผลต่อการขยายขนาดการผลิตพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบปั่นกวน ขนาด 1 ลิตร จากการศึกษาพบว่าชนิดของใบพายและความเร็วรอบส่งผลกระทบต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสและกระบวนการพอลีเมอร์ไรเซชั่น ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยพบว่าจากการใช้ใบพายชนิด Pitched 6-Blade Turbine ที่ความเร็ว 300 รอบต่อนาทีให้ร้อยละผลได้ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ สูงที่สุด เท่ากับ 82.4 ส่วนการใช้ใบพายชนิด Pitched 4-Blade Turbine ที่ความเร็ว 600 รอบต่อนาที โดยมีร้อยละผลได้ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ เท่ากับ 75.6 และการใช้ใบพายชนิด Rushton Turbine ที่ความเร็ว 1800 รอบต่อนาที ให้ร้อยละผลได้ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ เท่ากับ 77.0 นำใบพายชนิด Pitched 6-Blade Turbine ที่ความเร็ว 300 รอบต่อนาที มาคำนวณขนาดและความเร็วรอบใช้ในเครื่องปฏิกรณ์ ขนาด 10 ลิตรและ 25 ลิตร ซึ่งการหมุนที่แตกต่างกันเป็นผลมาจากการกำหนดให้ค่า Reynolds number, impeller tip speed และ Power per unit volume คงที่ โดยที่ n = 2, 1 และ0.66 ตามลำดับ ดังนั้นที่เครื่องปฏิกรณ์ขนาด 10 ลิตรใช้ความเร็วรอบ 59 ,133 และ175 รอบต่อนาที และขนาด 25 ลิตรใช้ความเร็วรอบ 33 ,99 และ144 รอบต่อนาที ผลการทดลองพบว่าทุกความเร็วรอบได้ผลลัพธ์ของร้อยละผลได้ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ น้อยกว่าเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1 ลิตร ดังนั้นการหาความสัมพันธ์ของเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1, 10 และ 25 ลิตร เพื่อให้ได้ผลของร้อยละผลได้ออกมาให้ใกล้เคียงกันกับเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1 ลิตร จึงกำหนดความเร็วรอบให้โดยหาความสัมพันธ์ ที่ n = 0.5 ซึ่งจะได้ความเร็วรอบใหม่ที่ 200 และ 173 รอบต่อนาทีในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 10 และ 25 ลิตร ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองทำให้เห็นว่าผลของการปรับความเร็วรอบใหม่ในในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 10 และ 25 ลิตรโดยที่ผลลัพธ์ร้อยละผลได้ของพอลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ ออกมาใกล้เคียงกับเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 1 ลิตร โดยร้อยละผลได้ในถังปฏิกรณ์ขนาด 1,10 และ 25 ลิตร มีค่าเท่ากับ 82.4 , 82.3 และ 82.2 ตามลำดับ
Other Abstract: This research investigated the influences of turbine’s type and mixing speed effect for scale-up of polyaluminum chloride synthesis in one liter reactor . It was found that the turbine’s type and speed affected rate of hydrolysis reaction and polymerization of polyaluminum chloride. Types of turbine and optimal speed found that to used turbine’s type pitched 6-blade turbine with mixing speed at 300 rpm ,percentage of polyaluminum chloride equal to 82.4 . Turbine’s type pitched 4-blade turbine with mixing speed at 600 rpm, percentage of polyaluminum chloride equal to 75.6 and Turbine’s type Rushton Turbine with mixing speed at 1800 rpm, percentage of polyaluminum chloride equal to 77 .In addition , turbine’s type pitched 6-blade turbine with mixing speed at 300 rpm were calculated size and mixing speed in the reactor of 10 and 25 liters. Each of experiments mixing speed is different cause by setting constant number of Reynolds number, impeller tip speed and Power per unit volume at n = 2, 1 and 0.66 respectively. Thus, the reactor size 10 liters with mixing speed 59,133 and 175 rpm and the reactor size 25 liters 33,99 and 144 rpm by turbine’s type pitched 6-blade turbine .The results shown percentage of polyaluminum chloride less than one liter reactor. So the relationship of the reactor size 1, 10 and 25 liters for the effect of percentage has to be similar to one liter reactor. Mixing speed is a major factor causing the outcome was similar. Determine the mixing speed provided by the relationship of n = 0.5, which is the speed at 200 and 173 rpm in reactors 10 and 25 liters, respectively, the experimental results shown that the effect of adjust mixing speed of reactors 10 and 25 liters. The results of percentage are close to one liter reactor. The percentage of reactor size 1, 10 and 25 liters is equal to 82.4, 82.3 and 82.2 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43685
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1138
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5371474121.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.