Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43701
Title: การวิเคราะห์เชิงโมเดลความเข้าใจของนักเรียนในวิชาฟิสิกส์: กรณีศึกษาในไฟฟ้าสถิต
Other Titles: MODEL ANALYSIS OF STUDENTS’ UNDERSTANDING IN PHYSICS: A CASE STUDY IN ELECTROSTATICS
Authors: สุนทร พิมเสน
Advisors: นฤมล สุวรรณจันทร์ดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: snarumon@gmail.com
Subjects: ข้อสอบ -- ความเที่ยง
การประเมิน
Evaluation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แต่เดิมนั้น วิธีการประเมินผล (Assessment Method) มักถูกใช้เพื่อวิเคราะห์คำตอบที่ถูกต้องของผู้เรียนเท่านั้น โดยไม่สนใจคำตอบที่ผิดพลาด ต่อมา L. Bao ได้นำเสนอการวิเคราะห์โมเดล (Model Analysis) ซึ่งเป็นวิธีการประเมินผลที่สร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์คำตอบที่ผิดพลาดของผู้เรียน ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการวิเคราะห์โมเดล โดยกำหนดประเด็นการศึกษา 3 ประเด็น ประเด็นแรก คือ การเปรียบเทียบระหว่างข้อสนเทศ (Information) ที่ได้จากการวิเคราะห์โมเดลกับข้อสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์คะแนน (Score – Base Analysis) และข้อสนเทศที่ได้จากสัดส่วนเพิ่มบรรทัดฐาน (Normalized Gain) โดยได้ข้อสรุปว่า การวิเคราะห์โมเดลสามารถให้ข้อสนเทศได้มากกว่าการวิเคราะห์คะแนนและสัดส่วนเพิ่มบรรทัดฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อสนเทศเกี่ยวกับความรู้ที่ผิดพลาดและข้อสนเทศเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน ประเด็นถัดมา คือ ศึกษาแนวคิดฟิสิกส์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โมเดล ได้ข้อสรุปว่า การวิเคราะห์โมเดลมีหลักการแสดงสถานะและวัดสถานะของผู้เรียน ในลักษณะเดียวกับหลักการแสดงสถานะและวัดสถานะของอนุภาคในทฤษฎีควอนตัม ประเด็นสุดท้าย คือ ศึกษาการประเมินผลการเรียนของกลุ่มตัวอย่างด้วยการวิเคราะห์โมเดล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เปรียบเทียบข้อสนเทศที่ได้จากการใช้การวิเคราะห์โมเดลในกลุ่มผู้เรียนชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ ระหว่างนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ข้อสรุปว่า ผู้เรียนทั้ง 2 สถาบันมีพื้นฐานความรู้และพัฒนาการใกล้เคียงกัน โดยไม่ขึ้นกับวิธีการสอน ส่วนที่ 2 เปรียบเทียบข้อสนเทศที่ได้จากการใช้การวิเคราะห์โมเดลในกลุ่มนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ นานาชาติ จำนวน 5 กลุ่ม ได้ข้อสรุปว่า นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ นานาชาติ มีพัฒนาการสูงกว่านิสิตกลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้ มีข้อจำกัดบางประการที่อาจจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์โมเดลในกลุ่มตัวอย่าง กล่าวคือ แต่ละหัวข้อมีจำนวนคำถามน้อย และบางกรณี ข้อสนเทศที่ได้จากสถานะโมเดลปฐมภูมิ (Primary Model State) ครอบคลุมจำนวนผู้เรียนน้อยกว่า ร้อยละ 60 จากผู้เรียนทั้งหมดในกลุ่ม
Other Abstract: For some time, Assessment Method was used to analyze only students’ correct answers without considering their incorrect ones. Later, L. Bao introduced a new method called Model Analysis, which was created in order to analyze students’ incorrect answers. The objective of this thesis is to study Model Analysis in three aspects. The first aspect is to compare the information taken from Model Analysis, Score – Base Analysis, and Normalized Gain. The result shows that Model Analysis provides more information than Score – Base Analysis and Normalized Gain, especially information related to misunderstanding and improvement of students. The second aspect is to study the physics concepts that are applied in Model Analysis. The result shows that Model Analysis represents and measures the state of students the same way as Quantum Theory represents and measures the state of particles. The last aspect focuses on the learning evaluation of students’ understanding using Model Analysis which is divided into two parts. The first part is to compare the information obtained from Model Analysis for freshmen in Faculty of Science from Chulalongkorn University and Mahidol University. The result shows that students from both universities have quite the same basic knowledge and similar learning improvement. This implies that different instructions do not affect the students’ perception. The second part is to compare the information using Model Analysis for freshmen from Chulalongkorn University in Faculty of Science, Faculty of Education, and Faculty of Engineering (International Program). The students are divided into five groups. The result shows that engineering students (International Program) have higher improvement than other groups. However, there are limitations that might affect the reliability of the result using Model Analysis. For example, there are too few questions in each topic. And in some cases, the information taken from the Primary Model State covers less than 60% of students in the group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43701
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1151
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1151
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5372479523.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.