Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43704
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ | en_US |
dc.contributor.advisor | กัลยา เลาหสงคราม | en_US |
dc.contributor.author | ศิโรรัตน์ กาญจนสำราญวงศ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:43:58Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:43:58Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43704 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel oil), น้ำมันมะกอก (olive oil) และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (sunflower oil) ที่มีองค์ประกอบของกรดไขมันแตกต่างกันต่อการเกิดรีโทรเกรเดชันและเนื้อสัมผัสของข้าวหุงสุกระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (28±2 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 6 เดือน โดยแปรอุณหภูมิการฆ่าเชื้อที่ 115, 121 และ 125 องศาเซลเซียสที่ F0 = 6 นาที พบว่า ทุกตัวอย่างที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิต่างๆ ไม่พบ Cl. botulinum และ B. stearothermophilus และอุณหภูมิฆ่าเชื้อไม่มีผลต่อลักษณะเนื้อสัมผัสได้แก่ ความแข็ง (hardness), ความเหนียวติดกัน (adhesiveness) และความเกาะติดกัน (cohesiveness) ค่าความขาวและคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสและโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) แต่มีผลต่อคะแนนความชอบด้านสีอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) โดยอุณหภูมิการฆ่าเชื้อที่เหมาะสมคือ 121 องศาเซลเซียส ที่ F0 = 6 นาที จากการแปรชนิดน้ำมันในปริมาณร้อยละ 0, 3 และ 6 ของข้าวสาร สุ่มตัวอย่างข้าวหุงสุกทุก 10 วันในเดือนแรกและทุกเดือนจนครบ 6 เดือน เพื่อวัดสมบัติทางความร้อน ร้อยละการเกิดผลึกและลักษณะเนื้อสัมผัส, ค่าความขาวและสมบัติทางประสาทสัมผัสพบว่า ตัวอย่างที่เติมน้ำมันมีช่วงอุณหภูมิในการหลอมผลึกเนื่องจากรีโทรเกรเดชันของแอมิโลเพกติน ช่วงอุณหภูมิการหลอมผลึกของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอมิโลสและไขมัน ค่าพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอมิโลสและไขมัน ร้อยละการเกิดผลึก (% crystallinity) และค่าความแข็งเพิ่มขึ้น โดยค่าพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกเนื่องจากการเกิดรีโทรเกรเดชันของแอมิโลเพกตินมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ตัวอย่างที่เติมน้ำมันมีค่าความเหนียวติดกันและคะแนนความชอบด้านสี เนื้อสัมผัสและการยอมรับรวมลดลง ทั้งนี้น้ำมันมะกอกมีแนวโน้มทำให้ตัวอย่างมีค่าพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกเนื่องจากการเกิดรีโทรเกรเดชันของแอมิโลเพกตินสูงสุดและพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอมิโลสและไขมันต่ำสุด ส่วนน้ำมันจากเมล็ดปาล์มมีแนวโน้มทำให้ร้อยละการเกิดผลึกและค่าความแข็งมีค่าสูงที่สุด แต่ค่าความเหนียวติดกันและคะแนนความชอบด้านสี เนื้อสัมผัสและโดยรวมต่ำที่สุด โดยชนิดน้ำมันไม่มีผลต่อค่าความเกาะติดกันและค่าความขาวอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ตัวอย่างมีค่าความแข็งและความเกาะติดกันเพิ่มขึ้นแต่ค่าความเหนียวติดกัน, ค่าความขาวที่ระยะการเก็บรักษา 10 วันและคะแนนความชอบด้านสี เนื้อสัมผัสและโดยรวมมีค่าลดลง เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น ค่าช่วงอุณหภูมิในการหลอมผลึกเนื่องจากรีโทรเกรเดชันของแอมิโลเพกติน ช่วงอุณหภูมิการหลอมผลึกของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอมิโลสและไขมัน ค่าพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกเนื่องจากการเกิดรีโทรเกรเดชันของแอมิโลเพกติน ค่าพลังงานที่ใช้ในการหลอมผลึกของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างแอมิโลสและไขมัน ร้อยละการเกิดผลึกและค่าความแข็งของตัวอย่างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ค่าความเหนียวติดกันค่าความเกาะติดกัน ค่าความขาวและคะแนนความชอบด้านสี เนื้อสัมผัสและโดยรวมมีแนวโน้มลดลง | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to investigate the effect of vegetable oil (palm kernel, olive oil and sunflower oil) having different proportion of fatty acids on the retrogradation and texture of cooked rice during storage at room temperature (28±2oC) for 6 months. Rice was sterilized at 115, 121 and 125oC to obtain F0 = 6 minutes. The results showed that there was no Cl. botulinum and B. stearothermophilus detected in all samples. Sterilization temperature had no significant effect on textural properties (hardness, adhesiveness and cohesiveness), whiteness value, hedonic score of texture and overall acceptability (p>0.05). However, it had significant effect on hedonic score of color (p≤0.05). The optimum sterilization temperature was found to be 121oC and F0 = 6 minutes. Three different types of oil were added at 0, 3 and 6 % w/w, on the basis of uncooked rice. The samples were kept at 28±2 oC and taken every 10 days for the first month and every month until 6 months for thermal properties, the percentage crystallinity (% crystallinity), textural properties, whiteness value and sensory properties measurement. It was found that the addition of oil increased melting temperature range of amylopectin retrogradation, melting temperature range of amylose-lipid complex, the melting enthalpy of amylose-lipid complex, % crystallinity and hardness, but decreased the enthalpy of amylopectin retrogradation. In addition, the addition of oils decreased adhesiveness and hedonic scores of all attributes. The added olive oil sample had maximum value of the enthalpy of amylopectin retrogradation and minimum value of the melting enthalpy of amylose-lipid complex while the added palm kernel oil sample had maximum value of % crystallinity and hardness, minimum value of adhesiveness and hedonic scores of all attributes. Type of oil had no significant effect on cohesiveness and whiteness value (p>0.05). Increasing the quantity of oil increased hardness and cohesiveness, whereas decreased adhesiveness, whiteness value of cooked rice stored at 10 days storage and hedonic scores of all attributes. Besides increasing storage time increased melting temperature range of amylopectin retrogradation, melting temperature range of amylose-lipid complex, the enthalpy of amylopectin retrogradation, the melting enthalpy of amylose-lipid complex, % crystallinity and hardness, but decreased adhesiveness, cohesiveness, whiteness value and hedonic scores of all attributes. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1154 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | น้ำมันปาล์ม | |
dc.subject | กรดไขมัน | |
dc.subject | เทคโนโลยีการผลิตอาหาร | |
dc.subject | Palm oil | |
dc.subject | Fatty acids | |
dc.title | ผลของน้ำมันพืชต่อรีโทรเกรเดชันและเนื้อสัมผัสของข้าวหุงสุกในรีทอร์ตเพาช์ระหว่างการเก็บรักษา | en_US |
dc.title.alternative | EFFECTS OF VEGETABLE OIL ON RETROGRADATION AND TEXTURE OF COOKED RICE IN RETORT POUCH DURING STORAGE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | saiwarun.c@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | Kalaya.l@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1154 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5372555523.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.