Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43712
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG KNOWLEDGE,PERCEIVED BARRIERS,PERCEIVED BENEFIT, SOCIAL SUPPORT,SELF EFFICACY AND SODIUM CONSUMPTION BEHAVIORS IN HEART FAILURE PATIENTS.
Authors: จริญญา คมเฉียบ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: jchanokp@hotmail.com
Subjects: หัวใจวาย -- ปัจจัยเสี่ยง
หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
Heart failure -- Risk factors
Heart failure -- Patients
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่จำกัดเกลือโซเดียม การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วย ซึ่งได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับการตรวจรักษาคลีนิคโรคหัวใจและหลอดเลือดผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตำรวจ สถาบันโรคทรวงอก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่จำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการบริโภคอาหารที่จำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ต่อการบริโภคอาหารที่จำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .94, .77, .83, .92, .98 และ .96 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง ( =57.86, SD 16.23 ) การรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.178) ความรู้ การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.425, .452, .218, .541)
Other Abstract: This correlation research aimed to study relationships among knowledge, perceived barriers, perceived benefit, social support, self efficacy and sodium consumption behaviors in heart failure patients. The subjects were 134 patients with congestive heart failure, and were recruited by using multiple stage sampling technique from Out-Patients Coronary Clinics Department of Police General Hospital, Central Chest Institute, and Faculty of Medicine Vajira Hospital Navamindradhiraj University. The instrument used for data collection were the demographic data form, the Dietary Sodium Restriction Questionnaire, Perceived barrier to sodium consumption Questionnaire, Perceived benefit to sodium consumption Questionnaire, ENCRICH Support Questionnaire,Self efficacy to sodium consumption questionnaire and Sodium consumption behaviors adapted from The Low Sodium Eating Behaviors Scale. This instruments were testd for their content validity by a panel experts. Internal consistentcy reliability for each questionnaire computed by Cronbach’s alpha were .94, .77, .83, .92, .98 and .96, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviIation, and Pearson’s Product Moment correlation. The major findings were as follows: Sodium consumption behaviors in heart failure patients was at the moderate level. ( =57.86, SD 16.23) Perceived barriers to sodium consumption were negatively significant correlated to sodium consumption behaviors. .05 (r=-.18, p < .05) Knowledge, Perceived benefits, Social support and Self efficacy were positively significant correlated to sodium consumption behaviors. (r=.425, .452, .218, .541, P< .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43712
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1173
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5377556036.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.