Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43751
Title: | ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF USING THE DUAL-SITUATED LEARNING MODEL ON THE CONCEPTS OF HOMEOSTASIS AND SCIENTIFIC REASONING ABILITIES OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | พงศ์พรหม พรเพิ่มพูน |
Advisors: | วัชราภรณ์ แก้วดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | watcharaporn.k@chula.ac.th |
Subjects: | ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน Scientific attitude Biology -- Study and teaching |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาท 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทกับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ ให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาท 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสถานการณ์สองบทบาทกับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 2 ห้องเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ 1) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติดังต่อไปนี้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ชีววิทยาเรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายเท่ากับร้อยละ 67.00 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ชีววิทยาเรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1) to study the concept of Homeostasis of upper secondary school students by using the dual-situated learning model. 2) to compare the concept of Homeostasis of the students who learned through dual-situated learning model and those who learned through the conventional teaching method. 3) to compare the ability in scientific reasoning of the students before and after learning through the dual-situated learning model. 4) to compare the ability in scientific reasoning of the students who learned through the dual-situated learning model and those who learned through the conventional teaching method. The samples of this study were two classrooms of upper secondary school students of the Secondary Educational Service Area Office 2 who studied in the First semester of the academic year 2014. The research instruments were included 1) the homeostasis concept test with the level of reliability at 0.83 and 2) the scientific reasoning test with the level of reliability at 0.85.The research instruments were included 1) the homeostasis concept test and 2) the scientific reasoning test. The results demonstrated that 1) the students who learned through dual-situated learning model had a mean score of concepts of homeostasis at 67.00 percent which lower than the criterion score set at 70 percent 2) the students who learned through the dual-situated learning model had a mean score of concepts of homeostasis higher than those who learned through the conventional teaching method at .05 level of significance, 3) the students who learned through the dual-situated learning model had a mean score of scientific reasoning ability higher than before the experiment at .05 level of significance, 4) the students who learned through the dual-situated learning model had a mean score of reasoning thinking higher than those who learned through the conventional teaching method at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43751 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1209 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1209 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5383366027.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.