Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43761
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: DEVELOPMENT OF INDICATORS OF GLOBAL CITIZEN CHARACTERISTICS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wannee.k@gmail.com
Subjects: การประเมินผลทางการศึกษา
การศึกษา -- วิจัย
หน้าที่พลเมือง
Educational evaluation
Education -- Research
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์ : การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา. (DEVELOPMENT OF INDICATORS OF GLOBAL CITIZEN CHARACTERISTICS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: รศ. ดร.วรรณี แกมเกตุ, หน้า. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 )พัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2 )ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระหว่างระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบวัดคุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการประพฤติตน องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม องค์ประกอบด้านการลงมือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และองค์ประกอบด้านการตระหนักถึงสถานการณ์ของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข องค์ประกอบด้านการประพฤติตน มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการปรับตัวตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับแนวคิดที่แตกต่างทางการเมือง และการเคารพสิทธิและเสรีภาพ องค์ประกอบด้านการลงมือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การส่งเสริมสันติภาพและความเท่าเทียมกัน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับต่างๆ องค์ประกอบด้านการตระหนักถึงสถานการณ์ของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การตระหนักและมีส่วนร่วมในปัญหาของสิ่งแวดล้อม และการตระหนักถึงความสำคัญในสาธารณสุขพื้นฐาน 2) โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ^2 = 45.297, df = 33, p = 0.075, GFI = 0.981, AGFI = 0.956, RMR = 0.00951 3). โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้ และค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักด้านการประพฤติตน ด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม ด้านการลงมือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และด้านการตระหนักถึงสถานการณ์ของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข
Other Abstract: The propose of this research were 1) to develop of indicators of global citizen characteristics of secondary school students 2) to validate the model of indicators of global citizenship characteristics of secondary school students 3) to test the invariance of the model of indicators of global citizen characteristics of secondary school between lower secondary level and upper secondary level. The participants of this research were 400 secondary school students. The research tools were in-depth interview with expert and questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics (e.g., mean, S.D., C.V., skewness, kurtosis) and Pearson’s correlation by employing SPSS. Second order confirmatory factor analysis and multiple group structural equation model analysis by LISREL The research were as follows 1) Indicators of global citizenship characteristics of secondary school students consisted of four factor, namely, self-discipline, social interaction, compliance roles and awareness of the situation of environmental resources and public health. The self-discipline factor consisted of 3 indicators: responsibility, critical thinking and cross-cultural understanding. The social interaction factor consisted of 3 indicators: collaboration, embrace political difference and liberty and rights. The compliance roles consisted of 3 indicator: creativity, peace and equality and civic participation. The awareness of the situation of environmental resources and public health consisted of 3 indicators: awareness of sustainable development, environmental awareness and public health awareness 2) The model of indicators of global citizenship characteristics of secondary school students found that the model fit the empirical data χ^2 = 45.297, df = 33, p = 0.075, GFI = 0.981, AGFI = 0.956, RMR = 0.00951 3) The model of indicators of global citizenship characteristics of secondary school students indicated invariance of model form between lower secondary level and upper secondary level. But the model indicated variance of the factor loading of each indicators and factor loading of knowledge and characteristics conducive to research factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43761
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1218
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1218
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383850427.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.