Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43763
Title: การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์โดยประยุกต์ใช้โมเดลคาโน
Other Titles: AN ANALYSIS OF STUDENT SATISFACTION WITH THE ADVICE OF THESIS ADVISORS USING KANO MODEL
Authors: แพรวกมล ชาปะวัง
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wannee.k@gmail.com
Subjects: อาจารย์ที่ปรึกษา
การให้คำปรึกษาในการศึกษาขั้นอุดมศึกษา
ความพอใจในการทำงาน
Faculty advisors
Counseling in higher education
Job satisfaction
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาและประเภทของหลักสูตร 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทของหลักสูตร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามตามแนวคิดโมเดลคาโน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ ซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามแบบเชิงบวกและเชิงลบโดยผู้วิจัยจำแนกข้อคำถามออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การให้คำปรึกษาแบบปล่อยและการให้คำปรึกษาแบบป้อน ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามจำแนกลักษณะการให้คำปรึกษาแบบปล่อยมีค่าเท่ากับ .934 แบบสอบถามลักษณะการให้คำปรึกษาแบบป้อนมีค่าเท่ากับ .940 เก็บข้อมูลจากตัวอย่างโดยการแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบปัญหาวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ของโมเดลคาโน การวิเคราะห์ตารางไขว้ และการทดสอบไค – สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า การให้คำปรึกษาแบบปล่อยเป็นลักษณะที่นิสิตนักศึกษารู้สึกเฉยๆทั้งนิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยกเว้นในขั้นตอนการทบทวนเอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์เป็นลักษณะที่ดึงดูดให้รู้สึกพึงพอใจมากสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์ ส่วนการให้คำปรึกษาแบบป้อนพบว่าเป็นลักษณะที่นิสิตนักศึกษารู้สึกเฉยๆทั้งนิสิตนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อจำแนกตามประเภทหลักสูตรพบว่า การให้คำปรึกษาแบบปล่อยเป็นลักษณะที่นิสิตนักศึกษารู้สึกเฉยๆทั้งนิสิตนักศึกษากลุ่มในเวลาและนอกเวลาราชการ ยกเว้นในขั้นตอนการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์เป็นลักษณะที่ดึงดูดให้พึงพอใจสำหรับทั้งนิสิตนักศึกษากลุ่มในเวลาและนอกเวลาราชการ ส่วนการให้คำปรึกษาแบบป้อนพบว่าเป็นลักษณะที่นิสิตนักศึกษารู้สึกเฉยๆทั้งนิสิตนักศึกษาในกลุ่มในเวลาและนอกเวลาราชการ 2. ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กรณีการให้คำปรึกษาแบบปล่อย (ในขั้นตอนการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทบทวนเอกสาร/งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลวิจัย การสรุปผลการวิจัย การเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์) และกรณีการให้คำปรึกษาแบบป้อน (ในขั้นตอนการทบทวนเอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย และการเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์) 3. ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทหลักสูตรที่เรียนพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กรณีการให้คำปรึกษาแบบปล่อย (ในขั้นตอน การสรุปผลการวิจัย การเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์) และกรณีการให้คำปรึกษาแบบป้อน (ในขั้นตอนการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ และการเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์)
Other Abstract: The objectives of this reseach were to 1) analyze the satisfaction of students in relation to the consultation of the advisor by field of study and type of course 2) to compare the satisfaction of students, the nature of the consultation of the faculty. study by field of study, and 3) the satisfaction of the student's counseling style advisor, by type of course. Samples used in this study were graduate students from Chulalongkorn University and Srinakharinwirot University 308 was used in this study is a questionnaire based on the Kano model. It is a multiple choice question. Which consisted of positively and negatively by the research questions grouped into two types of counseling and counseling releasing entered. The reliability of the questionnaire Identification of counseling were released. 934 questionnaires characteristics were entered counseling. 940 samples collected from questionnaires by mail. Analyzed data using Mean analyze data to answer the research model using model analysis of Kano. Cross tabulation analysis And Chi - Square. The results showed that 1 student satisfaction, the nature of the consultation of Advisor on Economic Education found. Counseling and leave a manner that students feel just as science and social science students. Except in the process of document review / research related. Thesis and features were very attractive to the students of science. Enter the counseling that is just the way that students feel in science and social science. When classified by type of print that recipe. Counseling and leave a manner that students feel indifferent student group in both time and part-time. Except in the process of Thesis is tempting to look at the entire satisfaction of students in and out of office hours. The evaluation found that the characteristics of the entering students feel indifferent student group in both time and part-time. 2 Student satisfaction with the nature of the counseling advisor by the Department. The difference was statistically significant level. 01 in case of discharge counseling. (In the process of choosing a thesis topic. Review documentation / research Related The Thesis Collecting research data The results are summarized The author's thesis) and entered counseling. (In the process of document review / research related. Analysis of research data And writing a thesis). 3 Student satisfaction with the nature of the consultation of the advisor by type of course to find. The difference was statistically significant level. 01 in the counseling was released (in the process of the study. The author's thesis) and entered counseling. (In the process of choosing a thesis topic. And writing a thesis)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43763
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1220
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383867127.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.