Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43768
Title: การพัฒนาวิธีวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 3
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN ENGLISH COMMUNICATIVE COMPETENCE DIAGNOSTIC METHOD FOR NINTH GRADE STUDENTS
Authors: กุลพร พูลสวัสดิ์
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
จิรดา วุฑฒยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: sirichai.k@chula.ac.th
wudthayagorn@hotmail.com
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การประเมินผลทางการศึกษา
English language -- Study and teaching (Secondary)
Educational evaluation
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาวิธีวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของวิธีวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3)เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่องของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 127 คน ผู้เชียวชาญด้านภาษาอังกฤษ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา จำนวน 12 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนวรรณกรรม 2) การระบุคุณลักษณะที่ต้องการวินิจฉัยและสร้างเครื่องมือวินิจฉัย 3) การนำเครื่องมือวินิจฉัยไปทดลองใช้และสำรวจรูปแบบพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่อง 4) การสร้างแบบตรวจสอบรายการพฤติกรรม และสร้างQ-Matrix 5)การวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 6) การศึกษาคุณภาพของวิธีวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นและให้ข้อมูลวินิจฉัยย้อนกลับแก่ผู้สอบ ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่า มีค่าความยากตั้งแต่ 0.17 ถึง 0.92 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.12 ถึง 0.97 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 และเมื่อผู้วิจัยวิเคราะห์สารสนเทศข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ พบว่ามี ค่าพารามิเตอร์ความยากตั้งแต่ -5.8 ถึง 1.98 และ ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.18 ถึง 11.11 ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบถามความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนในเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมีค่า แอลฟาของครอนบาค .952 และ คุณภาพของแบบสอบถามในส่วนของปัญหาที่พบในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมีค่า แอลฟาของครอนบาค .801 ผลการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่องของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่องในองค์ประกอบที่ 1 ความสามารถด้านไวยากรณ์ ในด้านการใช้คำศัพท์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.17 รองลงมาคือ การสร้างประโยคที่สมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 34.10 และพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่องในองค์ประกอบที่ 2 ความสามารถด้านภาษาศาสตร์สังคมในด้านการใช้สำนวนและรูปแบบภาษาที่เหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 99.7 ผลการวิจัยพบว่า วิธีวินิจฉัยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นสามารถให้ผลวินิจฉัยที่ละเอียด สามารถระบุถึงรูปแบบพฤติกรรมในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บกพร่องของนักเรียน และให้ผลการประเมินที่มีความเที่ยงและความตรง
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) develop a communicative competence diagnostic approach for ninth grade students 2) investigate quality of the communicative competence diagnostic approach for ninth grade students and 3) analyze pattern of communicative competence speaking errors of ninth grade students.The sample consisted of 127 ninth grade students who study in Bangkok province in second semester academic year 2013 and 12 experts in English language and measurement and evaluation. The design of research was divided into 6 steps 1) literature review 2) define attributes and create a set of diagnostic tools 3) pilot study and survey pattern of communicative competence speaking errors of ninth grade students 4) develop descriptors and Q-matrix 5) diagnose English communicative competence of students and 6) investigate quality of the developed approach and provide feedback to teachers and students. The item analysis of English communicative competence test by using Classical Test Theory showed level of difficulty of the items in the ranged of 0.17 to 0.92, discrimination power of the items in the ranged of 0.12-0.97, KR20 reliability coefficient of 0.95 and the item analysis of English communicative competence test by using Item Response Theory showed difficulty parameter in the ranged of -5.8 to 1.98 and discrimination parameter in the ranged of 0.18 to 11.11. Result of analysis pattern of English communicative competence speaking errors of ninth grade students in Grammatical competence showed that students had vocabulary errors 55.17 percent and structure errors 34.10 percent. Result of analysis pattern of English communicative competence speaking errors of ninth grade students in Sociolingustic competence showed that students had Stylistic appropriateness errors the most which is 99.7 percent. This research found that the development communicative competence diagnostic approach provide grain size of diagnostic report. This approach can identify pattern of English communicative competence speaking errors of ninth grade students. It also has quality both of validity and reliability aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43768
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1238
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1238
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384451927.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.