Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43775
Title: ภาระภาษีมรดกในประเทศไทย
Other Titles: THE INCIDENCE OF THE ESTATE AND INHERITANCE TAX IN THAILAND
Authors: ผกา อึ้งเศรษฐพันธ์
Advisors: ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: chairat.a@chula.ac.th
Subjects: ภาษีมรดก
การจัดเก็บภาษี
Inheritance and transfer tax
Tax collection
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มรดกเป็นสิ่งที่ตกทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยไม่ต้องทำการซื้อหาหรือใช้ความพยายามใดๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ และการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งผู้ที่ได้รับมรดกนั้นย่อมสามารถที่จะใช้มรดกที่ได้รับมาสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับมรดก ดังนั้นภาษีมรดกจึงควรเกิดขึ้นเพื่อที่จะดึงเอาทรัพยากรที่ส่งต่อความมั่งคั่งจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งดังกล่าวนี้ นำออกมาสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านต่างๆลงได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษารูปแบบและหลักการ ข้อดีข้อเสียในการจัดเก็บภาษีมรดกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และศึกษาผลของการจัดเก็บภาษีมรดกต่อรายได้รัฐ หากมีการจัดเก็บในปี พ.ศ. 2552 พร้อมทั้งศึกษาภาระภาษีมรดกที่จะเกิดขึ้นจำแนกตามชั้นรายได้ และท้ายที่สุดทำการศึกษาผลของการจัดเก็บภาษีมรดกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้ และความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นหากมีการจัดเก็บภาษีมรดกในปี พ.ศ. 2552 โดยการวิเคราะห์ ดัชนีจีนี (Gini Index) จากการศึกษาพบว่าภาษีมรดกมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือในประเทศไทยเอง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และผลพลอยได้คือ รายได้ที่สามารถจัดเก็บได้มากยิ่งขึ้น ภาษีมรดกมีความสำคัญของการเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลได้ เนื่องจากสัดส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีมีความใกล้เคียงกับสัดส่วนรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีน้ำมันฯ ส่วนภาระภาษีมรดกที่เกิดขึ้น ในทุกรูปแบบการจัดเก็บภาษีมดกเมื่อจำแนกตามชั้นรายได้ กลุ่มที่ยากจนที่สุดไม่มีภาระภาษีมรดกเกิดขึ้น หรือมีค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับภาระภาษีของกลุ่มที่ร่ำรวยกว่า หรือกลุ่มที่ร่ำรวยที่สุด และท้ายที่สุดในการศึกษาดัชนีจีนีเพื่อวิเคราะห์ถึงความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และทรัพย์มรดกของครัวเรือน พบว่าเมื่อมีการจัดเก็บภาษีมรดก ในปี พ.ศ. 2552 ดัชนีจีนีรายได้และดัชนีจีนีทรัพย์มรดกมีค่าที่ลดลงเพียงเล็กน้อย โดยลำดับการลดลงของดัชนีจีนีรายได้ และดัชนีจีนีทรัพย์มรดกนั้น มีความสอดคล้องกับรายได้ภาษีที่สามารถจัดเก็บได้จากภาษีมรดกในแต่ละรูปแบบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการจัดเก็บภาษีมรดกช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านรายได้และทรัพย์มรดกได้บ้างส่วนนึง แต่จากค่าดัชนีจีนีทรัพย์มรดกที่ลดลงในสัดส่วนที่น้อยมาก แสดงให้เห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ที่ลดน้อยลงนั้น อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถนำรายได้ที่มีไปต่อยอดเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้ โดยความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าวนี้จะยังคงมีอยู่ หรืออาจทวีความรุนแรงกว่านี้ได้ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีมรดกจึงเป็นเครื่องมืออีกประการหนึ่งที่จะเพิ่มความเสมอภาค และช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นให้บรรเทาความรุนแรงลงได้
Other Abstract: Heritage refers to something inherited from the preceding generations. The acquisition of heritage does not need any money and effort and this can cause higher income inequality and asset inequality. Therefore, the ones who possess heritage are possibly able to make more improvements than the ones who do not. As a consequence, the “Estate and Inheritance Tax” should be generally applied in order to reduce inequality. The purpose of this thesis is to primarily focus on the general principle, advantages and disadvantages of the Death Tax both in Thailand and other countries. This study also examines the result of the Death tax to Government’ Revenue provided that the tax was applied in 2009. Moreover, the thesis studies incidence of the Death Tax divided by income. Finally, wealth of the next generations is investigated, assumed that they owe the tax in 2009 by analyzing the Gini Index. The findings show that the Death Tax has a long history. Its objective is to intentionally build social equality. Besides, The Death Tax is the primary source of Government’s revenue since the proportion of this tax is close to that of personal income tax and oil tax. Moreover, the Death tax collect from the poorest group is very small or no incidence of the Death Tax compared to the richer group. This study also calculate Gini Index as a measurement of income and heritage inequality and the result shows that death tax imposed in 2009 lower both income and heritage inequality and consist with revenue from different types of death tax. In the other word, this study found that death tax can help reduce some income and heritage inequality but the in small scale reflected by a small decrease in the Gini Index. This implied that Death tax is not a factor encourage wealth accumulation for low income people while inequality still exist in the economy or may become more severe, this study suggests that Death tax can still be used as a tool to promote equality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43775
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1244
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1244
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5385182229.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.