Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43799
Title: อิทธิพลของปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาและการจราจรต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ของพื้นที่ริมถนนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: INFLUENCE OF METEOROLOGICAL FACTORS AND TRAFFIC ON PM10 AT ROADSIDE AREA OF BANGKOK
Authors: ตระวรรณ หาญกิจรุ่ง
Advisors: นพภาพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: noppaporn.p@chula.ac.th
Subjects: มลพิษ -- การวัด
ฝุ่น
Pollution -- Measurement
Dust
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน กับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาและปริมาณจราจรในพื้นที่ริมถนนเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ ถนนอินทรพิทักษ์ ถนนดินแดง และถนนลาดพร้าว โดยนำข้อมูลผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2554 จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ โดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน สมการถดถอยเชิงเส้น และสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนบริเวณริมถนนมีแนวโน้มลดลง โดยถนนดินแดงมีปริมาณฝุ่นละอองมากที่สุด เมื่อศึกษาจากพื้นที่ริมถนนทั้งหมดโดยแยกเป็นช่วงฤดูกาลพบว่าในช่วงฤดูหนาวมีปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุด และลดลงในช่วงฤดูร้อนและมีปริมาณน้อยที่สุดในช่วงฤดูฝน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนกับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาพบว่าอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงฝุ่นละอองมากที่สุดและมีความสัมพันธ์เชิงลบในถนนสองเส้นทาง มีค่าสหสัมพันธ์ (r) ดังนี้ ถนนอินทรพิทักษ์ r = -0.239 และถนนลาดพร้าว r = -0.441 เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองกับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาทั้งหมด พบว่าปัจจัยอุตุนิยมวิทยามีอิทธิพลต่อฝุ่นละอองของแต่ละถนน คือ 27.5% 41.9% และ 38.1% ตามลำดับ จากการศึกษาทำให้สรุปได้ว่าปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นเมื่อ ความเร็วลมต่ำ อากาศเย็นและเสถียร แสงแดดไม่มาก ส่วนปริมาณน้ำฝนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างชัดเจนในช่วงฤดูฝน โดยน้ำฝนช่วยลดช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากผิวถนนทำให้ปริมาณฝุ่นละอองในช่วงฤดูฝนมีค่าลดลง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนกับปริมาณจราจรซึ่งในแต่ละถนนมีปริมาณการจราจรแตกต่างกันแต่รถยนต์ส่วนใหญ่ของแต่ละถนนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมาคือรถจักรยานยนต์ แต่จากการศึกษาพบว่าฝุ่นละอองในบริเวณพื้นที่ริมถนนมีความสัมพันธ์กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถโดยสารประจำทาง และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองกับปริมาณจราจรทั้งหมด พบว่า ปริมาณจราจรโดยรวมทั้งหมดนั้นไม่มีอิทธิพลต่อฝุ่นละอองอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นที่เก็บตัวอย่างอยู่ในเมืองซึ่งมีปริมาณของยานพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยมาก จึงได้มีข้อเสนอแนะให้ใช้สถานที่ซึ่งมียานพาหนะเหล่านี้เป็นสัดส่วนที่สูงในบริเวณชานเมืองและบริเวณใกล้ท่าเรือในการศึกษาต่อไป นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา และปริมาณการจราจร พบว่าปัจจัยอุตุนิยมวิทยามีความสัมพันธ์กับฝุ่นละอองอย่างมีนัยสำคัญตามลักษณะภูมิศาสตร์ของพื้นที่ริมถนน
Other Abstract: This study is on relationship between particulate matter of less than 10 micron (PM10) and meteorological and traffic factors. The sites chosen for the study were three roads in Bangkok, Thailand, which are Indrapitak Road, Din Daeng Road and Lad Phrao Road. PM10 data (2002-2011) were obtained from Pollution Control Department’s monitoring stations, and statistical analysis was performed by Pearson’s correlation, linear regression and multiple regression. The results indicates that while PM10 concentration in general is decreasing throughout the years studied, the seasonal pattern is clear that winter months have highest concentrations, followed by summer and rainy season’s months respectively. Among the meteorological parameters, temperature exhibits strongest negative correlation with PM10 concentrations, with r = -0.239 and -0.441 for Indrapitak Road and Lad Phrao Road respectively. It also shows that low wind speeds, low temperature, stable condition and low sunlight radiation promote higher PM10 concentrations. Rain effects on PM10 only during rainy season which may be due to the suppression of fugitive road dust re-entrainment. On the effect of traffic volume on PM10 concentrations it was found that the PM10 was not related to the traffic volume as a whole but was more related to diesel vehicles, particularly buses, but since the study sites are urban with few of the diesel vehicles (buses) the effects are not very clear, and this study recommends that future studies may choose sites with more diesel vehicles, such as suburbs and near major ports. Local factors such as geographical features also influence meteorological at sites and were found to have effects on PM10.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43799
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1226
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1226
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387140220.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.