Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43801
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนกับคุณภาพน้ำในระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: THE RELATIONSHIPS BETWEEN SPECIES COMPOSITION AND ABUNDANCE OF PLANKTON AND WATER QUALITY IN NETWORK OF RESERVOIR OPERATION (ANG-POUNG) IN HUAY SAI ROYAL DEVELOPMENT STUDY CENTER, PHETCHABURI PROVINCE
Authors: ศุภลักษณ์ โภชนสมบูรณ์
Advisors: เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: w.m.saowanee@gmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แพลงค์ตอนพืชน้ำจืด -- ไทย -- เพชรบุรี
Freshwater phytoplankton -- Thailand -- Phetchaburi
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนกับคุณภาพน้ำในระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ่างเก็บน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอน รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนที่พบ เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้น โดยเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2554 แบ่งเป็น 12 สถานี ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำส่วนใหญ่ในระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำพื้นดิน ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำที่สูงเกินกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ค่าความขุ่น และไนเตรท-ไนโตรเจน จากการประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า คุณภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 อ่าง ส่วนใหญ่จัดเป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 2-3 ซึ่งสามารถนำมาอุปโภคและบริโภคได้ สำหรับการบริโภคต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคและกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน ผลการศึกษาแพลงก์ตอนพบว่า แพลงก์ตอนที่พบบ่อยในอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดคือ Pediastrum simplex var. duodenarium (Bailey) Rabonhorst และ Brachionus caudatus Barrois and Daday แพลงก์ตอนที่พบบ่อยในอ่างเก็บน้ำเขากระปุก คือ Microcyctis aeruginosa Kützing และ Brachionus caudatus Barrois and Daday ในขณะที่แพลงก์ตอนในอ่างเก็บน้ำห้วยทรายที่พบบ่อย คือ Merismopedia convoluta Brébisson และ Brachionus caudatus Barrois and Daday ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวม พบว่า Cyanophyceae ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนกลุ่มเด่นพี่พบในอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอุณหภูมิ (r = 0.674; p<0.05) และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ (r = 0.639; p<0.05) แพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม Cyanophyceae ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนกลุ่มเด่นพี่พบในอ่างเก็บเขากระปุก มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับปริมาณไนไตรท์-ไนโตรเจน (r = 0.597; p<0.05) ส่วนแพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม Chlorophyceae ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนชนิดเด่นพี่พบในอ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความเป็นด่าง (r = 0.674; p<0.05) จากการประเมินคุณภาพน้ำโดยใช้ AARL-PC score และ AARL-PP score พบว่า อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด อ่างเก็บน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี มีสารอาหารปานกลางถึงสูง ผลการประเมินสถานการณ์ของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีผลต่อปริมาณแพลงก์ตอนพืช พบว่า อ่างเก็บน้ำทั้งสามมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำแปรผกผันกับปริมาณแพลงก์ตอนพืชและปริมาณสารอาหาร (ไนเตรท-ไนโตรเจน) และปริมาณแพลงก์ตอนพืชแปรผันตามปริมาณสารอาหาร (ไนเตรท-ไนโตรเจน) ซึ่งการจากศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนกับคุณภาพน้ำ ทำให้สามารถทราบสถานภาพโดยรวมของเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) ว่ากำลังเข้าสู่ภาวะติดตามเฝ้าระวัง และควรมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนอย่างน้อยทุก 4 เดือน
Other Abstract: The study of the relationships between species composition, abundance of plankton and water quality was conducted at the network of reservoir operation (Ang-Poung) at the Huay Sai Royal Development Study Center, Phetchaburi. The objective was to study the relationship between water quality and plankton. This study aimed to propose mitigation measures to solve the water quality problems in the future. Water samples and plankton were collected between January and December 2011 from 12 sampling stations at the Huay Ta-Peat, KhaoKra-Pook and HuaySai reservoirs. The research indicated that most water quality factors measured in the network of reservoir operation (Ang-Poung) met the water quality standard. Nevertheless, there were some factors, such as turbidity and nitrate-N, which did not meet the standard. However, according to the standard of Surface Fresh Water Quality of Thailand, water in the network of reservoir operation (Ang-Poung) was classified in the 2-3 categories as relatively clean for household consumption after properly treated. The study revealed that the plankton commonly found in the Huay Ta-Peat reservoir were Pediastrum simplex var. Duodenarium (Bailey) Rabonhorst, Brachionus caudatus Barrois and Daday. The plankton commonly found in the Khao Kra-Pook reservoir were Microcyctis aeruginosa Kützing, Brachionus caudatus Barrois and Daday, while the plankton commonly found in the Huay Sai reservoir were Merismopedia convolute Brébisson, Brachionus caudatus Barrois and Daday. The Pearson's correlation coefficient was used to determine the relationship between total phytoplankton and water quality. The results from the Huay Ta-Peat reservoir showed that Cyanophyceae was positively correlated to temperature (r = 0.639; p<0.05) and chlorophyll-a (r = 0.639; p<0.05). Cyanophyceae found in the Khao Kra-Pook reservoir was positively correlated to nitrate-N (r = 0.597; p<0.05). At Huay Sai reservoir, the dominant of Chlorophyceae was positively correlated to alkalinity (r = 0.674; p<0.05). Assessing water quality with AARL-PC score and AARL-PP score, the results indicated that the water quality of the Huay Ta-Peat, Khao Kra-Pook and Huay Sai reservoirs were moderate-polluted and meso-eutrophic. The assessment of the amount of water in the reservoir that might affect the amount of phytoplankton showed that all three reservoirs tended to have the same results. The amount of water in the reservoir was inversely related to the amount of phytoplankton and nutrients (nitrate-N) and was proportional to the amount of phytoplankton nutrients (nitrate-N). Therefore, this study presented the condition of the network reservoir and that it was entering the condition monitoring stage. The water quality and plankton should be assessed at least every four months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43801
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1267
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1267
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387231720.pdf11.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.