Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชัยศักดิ์ หรยางกูร-
dc.contributor.authorคณิน สุบิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-10-12T10:10:05Z-
dc.date.available2007-10-12T10:10:05Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743471618-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4380-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractThe objective of this research is to study the legal principles concerning the supervisory board of the company in the country where two-tier board is in use, and to see whether such principles can be used as a guideline to promote companies in Thailand to have good corporate governance and thereby increase the efficiency of management, or not. According to the research, there are two main board models ; one-tier or unitary board and two-tier or dual board. For one-tier board, there is only one board that is accountable for the company's operation. The board has both the helm of business strategy and monitoring the performance of management. Thailand used the one-tier board model and there is not sufficient mechanism of check and balance within a board. For the two-tier board, this board model is found in various countries in Europe ; e.g. Germany, France and Netherlands. Under this model, there are two boards ; management board is responsible for making business decision, and supervisory board is responsible for control and inspection of the operations of management board closely. The member of a board cannot be the same in the other board. Further, the laws concerning superning supervisory board have provided measures which include the roles of the board to support the board to supervise the management board properly. The structure and measures of the supervisory board can solve the problem of check and balance vis a vis the management board, which will cause the management board to perform their duties with care, honesty and transparency in a greater degree. The supervisory board is therefore a good alternative mechanism to help build up the public and large private companies in Thailand to have good corporate governace and effective management, in addition to the rules of the Stock Exchange of Thailand requiring each listed company to have an audit committee.en
dc.description.abstractalternativeการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลในบริษัทของประเทศที่ใช้โครงสร้างคณะกรรมการแบบสองชั้นว่า จะนำมาเป็นแนวทางในการเสริมสร้างให้บริษัทในประเทศไทยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของบริษัทได้หรือไม่อย่างไร จากการวิจัยพบว่า รูปแบบคณะกรรมการที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ มี 2 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบคณะกรรมการชั้นเดียว และระบบคณะกรรมการสองชั้น ในระบบคณะกรรมการชั้นเดียว คณะกรรมการที่รับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทมีเพียงชุดเดียว โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะรับผิดชอบทั้งเรื่องการตัดสินใจที่สำคัญทางธุรกิจ และการกำกับดูแลการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร รูปแบบคณะกรรมการบริษัทภายใต้กฎหมายไทยเป็นแบบคณะกรรมการชั้นเดียว โดยบริษัทส่วนมากมักจะไม่มีกลไกถ่วงดุลและคานอำนาจภายในคณะกรรมการเท่าที่ควรสำหรับระบบคณะกรรมการสองชั้นนั้น เป็นรูปแบบคณะกรรมการของหลายประเทศในแถบยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ระบบคณะกรรมการดังกล่าว ได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร ทำหน้าที่ตัดสินใจในการบริหารงานของบริษัท และคณะกรรมการกำกับดูแล ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริหารอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สมาชิกของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ต้องไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน นอกจากนี้ หลักกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลได้บัญญัติเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้คณะกรรมการกำกับดูแล ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารได้อย่างเหมาะสม จากโครงสร้างและมาตรการของคณะกรรมการกำกับดูแลดังกล่าว จึงทำให้คณะกรรมการกำกับดูแลสามารถแก้ปัญหาการถ่วงดุลและคานอำนาจกับคณะกรรมการบริหารได้ และมีส่วนช่วยให้กรรมการบริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริต และโปร่งใส มากขึ้น ซึ่งถือว่าคณะกรรมการกำกับดูแลเป็นมาตรการที่ดี ที่ควรนำมาเป็นทางเลือกในการเสริมสร้างให้บริษัทมหาชนและบริษัทเอกชนที่มีกิจการขนาดใหญ่ของไทย มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของบริษัท นอกเหนือจากแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบen
dc.format.extent3064068 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบริษัทen
dc.subjectคณะกรรมการบริษัทen
dc.titleคณะกรรมการกำกับดูแลในบริษัทen
dc.title.alternativeSupervisory board in companyen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanin.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.