Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43814
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปัญญวัชร์ วังยาวen_US
dc.contributor.authorปาจรีย์ ศรีเกี่ยวฝั้นen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:08Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:08Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43814
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีความพยายามปรับปรุงโลหะผสมพิเศษเกรดนิกเกิลที่มีความแข็งแรงแบบสารละลายของแข็งเกรด Hastelloy X โดยการเพิ่มส่วนผสมอะลูมิเนียม ไทเทเนียมและอะลูมิเนียมผสมไทเทเนียม (ในอัตราส่วน 50:50) เพื่อทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบเชิงโลหะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานการเกิดออกซิเดชันที่อุณหภูมิสูง ชิ้นงานถูกหลอมและหล่อในเตาอาร์กสุญญากาศ ปริมาณการเติมอะลูมิเนียม ไทเทเนียม และอะลูมิเนียมผสมไทเทเนียม ใน Hastelloy X คือ 2, 4 และ 6% โดยน้ำหนัก ชิ้นงานที่ผ่านการหลอมทุกชิ้นจะผ่านกรรมวิธีทางความร้อนโดยการอบละลายที่อุณหภูมิ 1175 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 ชั่วโมง และบ่มแข็งที่ 760, 800 และ 845 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นทุกชิ้นงานจะถูกตรวจสอบส่วนผสมเคมีโดยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ ตรวจสอบและวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด และเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ นอกจากนี้ชิ้นงานที่ถูกเลือกจะถูกทดสอบออกซิเดชันที่ 900 และ 1,000 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 100 ชั่วโมง วิเคราะห์ชั้นฟิล์มออกไซด์ด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ผลการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคพบว่าธาตุที่เติมลงไปจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคอย่างชัดเจน การเพิ่มปริมาณธาตุที่ผสมส่งผลทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบเชิงโลหะในปริมาณที่มาก เช่น เฟสซิกมาและเฟสอีต้า ส่วนเฟสแกมมาไพร์มพบในชิ้นงานที่มีการเติมอะลูมิเนียม ชิ้นงานที่มีการเติมอะลูมิเนียมอย่างเดียวมีความต้านทานการเกิดออกซิเดชันดีที่สุด พบชั้นฟิล์มอะลูมินาในชิ้นงานที่มีการเติมอะลูมิเนียมอย่างเดียว พบชั้นฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ในชิ้นงานที่มีการเติมไทเทเนียมและอะลูมิเนียมผสมไทเทเนียมen_US
dc.description.abstractalternativeThis work had an attempt to modify solid solution strengthening nickel base alloy, grade Hastelloy X by additions of Aluminium, Titanium and both Aluminium plus Titanium (50:50) in order to form more precipitated intermettalic phase for higher mechanical properties and better oxidation resistance. The alloys were melted and casted in vacuum arc melting furnace. Aluminium, Titanium and both Aluminium plus Titanium were added in Hastelloy X for 2, 4, 6%wt. The as-cast specimens were heat treated with solutioning treatment at temperature of 1175 degree Celsius for 4 hours and then aged at different temperatures of 760, 800 and 845 degree Celsius for 24 hours. After that all specimens were analyzed by X-Ray Fluorescence. The microstructures of all specimens were observed and investigated by optical microscope, scanning electron microscope, and X-Ray diffractrometer. Furthermore, oxidation behaviors of the selected specimens were tested at temperatures of 900 degree Celsius and 1,000 degree Celsius for 100 hours. The oxide films were characterized by X-Ray diffratrometer. The obtained results showed that the element additions significantly changed the observed microstructure. More element additions resulted in more intermettalic phase precipitations such as sigma and etha phases. The expected gamma prime phase was only found in the specimens with Aluminium additions. The specimens with Aluminium addition performed the best oxidation resistance. The alumina film was found in specimens with only Aluminium addition. Titanium oxide film was found in specimens with Titanium and both Aluminium plus Titanium additions.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1234-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโลหะผสมนิกเกิล
dc.subjectโครงสร้างจุลภาค
dc.subjectNickel alloys
dc.subjectMicrostructure
dc.titleผลของการเติมอะลูมิเนียมและไทเทเนียมในโลหะผสมพิเศษเกรด Hastelloy X ที่ผลิตด้วยการหลอมอาร์กต่อโครงสร้างจุลภาคและความต้านทานการเกิดออกซิเดชันen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF ALUMINIUM AND TITANIUM ADDITIONS ON MICROSTRUCTURES AND HIGH TEMPERATURE OXIDATION RESISTANCE OF HASTELLOY X PRODUCED BY ARC MELTINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโลหการและวัสดุen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpanyawat@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1234-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470275521.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.