Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43815
Title: การวิเคราะห์การเดินทางเข้าถึงสถานีรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: ANALYSIS OF ACCESS TRIPS TO BUS RAPID TRANSIT STATIONS IN BANGKOK
Authors: พลฉัตร ยงญาติ
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: saksith.c@gmail.com
Subjects: การเดินทาง
รถประจำทางด่วนพิเศษ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
เวลาการเดินทาง (วิศวกรรมจราจร)
Voyages and travels
Bus rapid transit -- Thailand -- Bangkok
Travel time (Traffic engineering)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะทางการเดินทางเข้าถึงสถานีของผู้โดยสารรถประจำทางด่วนพิเศษ บีอาร์ที ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งระยะทางการเข้าถึงเป็นตัวกำหนดขนาดพื้นที่บริการและช่วยระบุขอบเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดผู้เดินทางให้เข้ามาใช้รถโดยสารบีอาร์ที ในการศึกษานี้ มีที่มาของข้อมูลจาก 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อมูลสถิติจำนวนผู้โดยสารรถบีอาร์ทีจากบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ส่วนที่สองคือ ข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เดินทางด้วยรถโดยสารบีอาร์ทีบริเวณชานชาลาสถานีซึ่งมีตัวอย่างจำนวน 440 คน และส่วนที่สามคือ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่รอบสถานีซึ่งได้จากการสำรวจจำนวนอาคารประเภทต่างๆ ในรัศมี 500 เมตรโดยรอบสถานีซึ่งเป็นระยะทางที่ผู้เดินทางสามารถเดินเท้าเข้าถึงสถานีได้ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าวิธีการเดินทางเข้าถึงสถานีที่มีผู้ใช้มากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ การเดิน จักรยานยนต์รับจ้าง และรถโดยสารประจำทาง โดยมีระยะการเข้าถึงเฉลี่ย 419, 956 และ 8,998 เมตรตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์แบบจำลองความถดถอยสำหรับระยะทางการเข้าถึงสถานีรถโดยสารบีอาร์ที พบว่าตัวแปรลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้เดินทาง ตัวแปรหุ่นแสดงวิธีการเดินทางเข้าถึง และตัวแปรลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่รอบสถานีล้วนมีผลต่อระยะทางการเข้าถึงสถานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์แบบจำลองสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายการพัฒนาบริการขนส่งสำหรับการเดินทางเข้าถึงสถานี และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีตามแนวคิด Transit Oriented Development ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้
Other Abstract: The objective of this research is to examine the factors that affect passengers’ access distances to Bus Rapid Transit (BRT) stations in Bangkok, which determine the catchment area of BRT and help to delineate the area where BRT can potentially attract passengers. In this study, data for analysis came from three sources. First, BRT ridership data were provided by Krungthep Thanakom Company, Limited. Second, passenger’s travel behavior data were collected by platform interview survey, which yielded the sample size of 440. Third, data on land use in areas surrounding BRT stations were surveyed by counting the number of various types of building within walking distance – 500 meter, of BRT stations. The data analysis shows that the three most popular modes of access to BRT stations are walking, motorcycle taxi, and bus, with average access distances of 419, 956, and 8998 meter, respectively. In addition, regression analyses reveal that passengers’ socioeconomic variables, access mode dummy variables, and station area land use variables are all statistically significant determinants of BRT access distances. These results can be useful in informing policy for improving transportation access services to transit stations, as well as formulating Transit-Oriented Development policies in the context of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1235
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1235
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470292121.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.