Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43823
Title: การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์นมดิบของสหกรณ์
Other Titles: IMPROVING RAW MILK LOGISTICS SYSTEM IN A DAIRY COOPERATIVE
Authors: ณัฐกฤตา วิเชียรไพศาล
Advisors: โอฬาร กิตติธีรพรชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: oran.k@chula.ac.th
Subjects: ฟาร์มโคนม
การขนส่งด้วยรถบรรทุก
Dairy farms
Trucking
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นมสดพร้อมดื่มเป็นอาหารเสริมที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรโคนม และส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนผ่านกิจกรรมสหกรณ์ หนึ่งในปัญหาโลจิสติกส์ที่สำคัญ ซึ่งกระทบต้นทุนการผลิตและคุณภาพของนมดิบคือปัญหาการจัดการขนส่งระหว่างฟาร์มเกษตรกรไปยังศูนย์รวมนมของสหกรณ์การเกษตรเนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายจัดส่งน้ำนมด้วยตนเองอย่างอิสระ ทำให้เกิดความสูญเปล่าด้านการขนส่ง เกิดความหนาแน่นที่ศูนย์รวมนม และน้ำนมไม่ได้คุณภาพเนื่องจากใช้เวลานานในการขนส่ง ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งของสหกรณ์การเกษตรสีคิ้ว จ.นครราชสีมาและประยุกต์ข้อมูลการผลิตในแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่แสดงปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถบรรทุก (Vehicle Routing Problem) เพื่อกำหนดช่วงเวลาการรับนมแต่ละฟาร์มทั้งในรอบเช้าและรอบบ่ายและกำหนดจำนวนรถบรรทุกที่เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขการดำเนินงานของศูนย์รวมนม การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงถึงการใช้อรรถประโยชน์ของรถบรรทุกสมารถปรับปรุงได้ด้วยการจัดการขนส่งโดยสหกรณ์ ผลการประยุกต์แบบจำลองด้วยวิธีการกวาด และการสลับสองตำแหน่ง แสดงค่าขนส่งทั้งหมดสามารถลดลงได้ร้อยละ 42.37 คำหลัก โลจิสติกส์ต้นน้ำของนมดิบ ฟาร์มโคนมไทย โครงข่ายแบบรวมศูนย์ ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ
Other Abstract: Dairy milk has been an essential food supplement especially for kids, generated constant stream of revenues for dairy farmers, and enhanced community strength through a regional cooperative. One of the important upstream problems that affect production costs and quality of raw milk is a logistic planning between a diary collection center operated by a cooperative and farms. Since there is no centralize planning, each farm transports its raw milk independently using its own truck. As a result, the upstream dairy logistics suffers from inefficient transportation, heavy congestion at a diary collection center, and low quality milk resulted from a long elapsed time between milking and collecting. Therefore, we analyzed the transportation data of See-Kew Cooperative, located in Northeast region of Thailand, and modeled the problem as the Vehicle Routing Problem (VRP) to schedule the pick-up time of each farm. The data analysis shows that the utilization of trucks can be significantly improved by centralized planning and calculated managing delivery time window at the collection center. Furthermore, we implemented the sweep and 2OPT heuristics and illustrated that the total transportation costs can be 42.37% reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43823
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1280
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1280
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470482021.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.