Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43836
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิen_US
dc.contributor.advisorเจริญ นิติธรรมยงen_US
dc.contributor.authorกมลพร พัฒนศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:20Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:20Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43836
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและความเค็มที่ลดลงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในปะการังและสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เพื่อให้ทราบบทบาทความสำคัญของปัจจัยทั้งสองจึงทำการศึกษาความทนทานต่ออุณหภูมิและความเค็มใน zooxanthellae ที่แยกจากผู้ให้อาศัย 3 ชนิด ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora damicornis) ปะการังดอกเห็ด (Fungia fungites) และดอกไม้ทะเล (Epiactis sp.) โดยทำการแยกเลี้ยงเซลล์ zooxanthellae แบบปลอดเชื้อและทำการทดลองที่ 3 ระดับอุณหภูมิ ได้แก่ 27 (ควบคุม), 30 และ 33 องศาเซลเซียส โดยในแต่ละระดับอุณหภูมิประกอบด้วย 4 ระดับความเค็ม ได้แก่ 15, 25, 28 (ควบคุม) และ 33 psu สุ่มนับเซลล์ทุก 2 วัน เป็นเวลา 14 วัน ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเติบโตจำเพาะของ zooxanthellae ในแต่ละระดับอุณหภูมิและความเค็มมีปฏิสัมพันธ์กับชนิดของผู้ให้อาศัยอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยที่ระดับอุณหภูมิ 27 และ 30 องศาเซลเซียส zooxanthellae ซึ่งแยกจากผู้ให้อาศัยทั้ง 3 ชนิด มีอัตราการเติบโตปกติ แต่มีค่าอัตราการเติบโตจำเพาะต่ำที่ระดับความเค็มต่ำ ในขณะที่ระดับอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส zooxanthellae ซึ่งแยกได้จากผู้ให้อาศัยแต่ละชนิดไม่สามารถเติบโตได้ โดยเซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 8 ของการทดลอง ยกเว้น zooxanthellae ที่แยกจากดอกไม้ทะเล Epiactis sp. ที่ระดับความเค็มสูง เซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 14 ซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดการทดลอง โดยเซลล์มีสีซีดจางและแสดงลักษณะของการสูญเสีย cytoplasmic organelles อย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำส่งผลต่อการเติบโตและลักษณะเซลล์ของ zooxanthellae และ zooxanthellae ที่ทนทานต่ออุณหภูมิและความเค็มมากที่สุด คือ zooxanthellae ที่แยกจากดอกไม้ทะเล Epiactis sp.en_US
dc.description.abstractalternativeThe elevated temperature and decreased in water salinity cause bleaching in corals and other marine invertebrates. To clarify the effects of temperature and salinity on zooxanthellae, the experiments were conducted in the zooxanthellae isolated from three marine invertebrate hosts, namely; cauliflower coral (Pocillopora damicornis), mushroom coral (Fungia fungites) and sea anemone (Epiactis sp.). The growth response of axenic culture were observed at 3 levels of temperatures; 27 (control), 30 and 33 oC. At each temperature level, 4 levels of salinities; 15, 25, 28 (control) and 33 psu were assigned. Sampling cells were enumerated every 2 days for 14 days. At each temperature and salinity, there were interactive effects among temperature, salinity and host type. At the 27 and 30 oC zooxanthellae isolated from all host types had normal growth rate but the lowest specific growth rates of zooxanthellae were observed at low salinity levels. While at the highest temperature 33 oC at all levels of salinity, growth rate of zooxanthellae decreased and most cells died on day 8 but zooxanthellae isolated from sea anemone at high salinity levels most cells died at the end of experiments (day 14) and zooxanthellae cells are clearly pale color and less cytoplasmic organelles. These results suggest that most temperature and salinity tolerance clone is zooxanthellae isolated from sea anemone.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1293-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปะการัง
dc.subjectสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง
dc.subjectความเค็ม
dc.subjectCorals
dc.subjectMarine invertebrates
dc.subjectSalinity
dc.titleผลของอุณหภูมิและความเค็มต่อการเติบโตของ zooxanthellae ที่แยกจากปะการังและดอกไม้ทะเลen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF TEMPERATURE AND SALINITY ON GROWTH OF ZOOXANTHELLAE ISOLATED FROM CORALS AND SEA ANEMONEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThaithaworn.L@chula.ac.then_US
dc.email.advisorcharoen@sc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1293-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471907723.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.