Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43848
Title: | พฤติกรรมการใช้จักรยานในเขตเมืองชั้นใน เขตต่อเมือง และเขตชานเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | CYCLING BEHAVIOR IN INNER CITY, URBAN FRINGE AND SUBURBAN OF BANGKOK |
Authors: | ธนาดล เที่ยงตรง |
Advisors: | พนิต ภู่จินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | panit.p@chula.ac.th |
Subjects: | การขี่จักรยาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ จราจร Cycling -- Thailand -- Bangkok Communication and traffic |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การใช้จักรยานเป็นอีกทางหนึ่งในการทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่เนื่องจากการใช้จักรยานเดินทางแทนการใช้รถยนต์เป็นการช่วยลดปริมาณการจราจรบนท้องถนน จักรยานเป็นพาหนะที่มีประสิทธิภาพในการเดินทางระยะใกล้ สามารถเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทางได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เช่นเดียวกับการเดินเท้าและเป็นพาหนะที่มีราคาถูก ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการใช้จักรยานในพื้นที่กรุงเทพมหานครจึงมีความสำคัญต่อการวางแผนและออกแบบเพื่อผลักดันให้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งในพื้นที่เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้จักรยานในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยวิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นการสุ่มเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมและพฤติกรรมการใช้จักรยานของผู้ใช้จักรยานตัวอย่าง แล้วนำมาทดสอบค่าความแปรปรวนของข้อมูลแต่ละประเภทเพื่อพิสูจน์ว่าพฤติกรรมการใช้จักรยานและสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมมีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ลำดับชั้นพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นของกรุงเทพมหานครได้แก่ กรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก มีผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มประชากรซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตัดสินรูปแบบการเดินทางรวมถึงพฤติกรรมการใช้จักรยานของประชากรในพื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ เมื่อสภาพแวดล้อมของเมือง อาทิเช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นของเมือง ความสามารถในการเข้าถึงมีการเปลี่ยนแปลงไป ลักษณะพฤติกรรมการเดินทาง รวมถึงการใช้จักรยานควรแตกต่างกันตามลักษณะสภาพแวดล้อมของเมืองด้วยเช่นกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผลการวิเคราะห์ไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น รวมถึงไม่สอดคล้องกับหลักการวางแผนระบบขนส่งซึ่งจักรยานเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชน มีบทบาทแตกต่างกันไปในแต่ละลำดับชั้นของกรุงเทพมหานคร และผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติบ่งบอกว่าว่ารูปแบบพฤติกรรมการใช้จักรยานของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้จักรยานในพื้นที่ทั้ง 3 ลำดับชั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แม้มีความแตกต่างของสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เมือง พฤติกรรมการใช้จักรยานของกลุ่มตัวอย่างยังคงมีรูปแบบเดียวกันโดยไม่เป็นไปตามหลักการวางแผนระบบจราจรซึ่งการใช้จักรยานควรมีบทบาทและลักษณะการใช้งานแตกต่างกันในพื้นที่แต่ละลำดับชั้นพื้นที่ |
Other Abstract: | Cycling is one of key elements for promoting Bangkok to become healthy city because it can reduce congestion and the journey times of other road users. Moreover, Cycling offers a fast and inexpensive transportation option for short-distance trips without change of transportation mode. At present, the number of cyclists has increased continuously. Thus, A research of cyclist behavior in Bangkok is importance for urban transport plans based on key objectives of promoting cycling as an additional and more sustainable urban mode of transport. This research aims to clarify the relationship between physical environment in variant of urban areas and cyclist behavior by collected data with random sampling from regular cyclists in Bangkok area in socio-economic field which asked about their bicycling behavior. This study estimated that the habit of bicyclist is impacted by their location such as Bangkok inner city, urban fringe and suburban area. In particular, built environment features which include land-use diversity, urban density and accessibility factors are influence the decision to ride a bicycle. The result of this research show that the behavior of bicycle user is not related to the assumption according to theory of transportation planning which bicycling is one of transportation system and it has different roles in different urban area of Bangkok. Moreover, the statistical analysis results indicate that the character of the samples has no significant difference. Therefore, it is concluded that although there are differences in socioeconomic status and built-environment of the city. Cycling character still has the same pattern and not related on the principle of traffic planning system, in addition bicycle should be different role in different urban area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43848 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1305 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1305 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5473325825.pdf | 6.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.