Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43849
Title: | ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่มีต่อชุมชนและพื้นที่โดยรอบ |
Other Titles: | ECONOMIC IMPACT OF CHIANGMAI NIGHT SAFARI ON THE SURROUNDING COMMUNITIES |
Authors: | พนิดา คมขำ |
Advisors: | พนิต ภู่จินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | panit.p@chula.ac.th |
Subjects: | ชุมชน การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่ดิน Communities Economic impact analysis Land use |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่มีต่อชุมชนบ้านตองกายและบ้านตองกายเหนือ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสมมติฐานคือ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจคือกลุ่มตัวอย่างในชุมชนที่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี หน่วยวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้คือระดับบุคคล ตัวแปรต้นคือ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตัวแปรตามคือ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โดยตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย รายได้ รายจ่าย หนี้สิน และเงินออม วิธีการศึกษาคือแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี โดยเปรียบเทียบก่อน-หลังการเกิดโครงการ และเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มตัวอย่าง ประกอบกับการวิเคราะห์บริบทเชิงพื้นที่ ผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี กลุ่มที่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ได้รับผลกระทบทางตรงจากโครงการ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ทำงานเป็นลูกจ้างโดยตรงและกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ไม้กลึง ในกลุ่มลูกจ้างรูปแบบของงานเปลี่ยนแปลงไปเป็นงานประจำ คือการได้ทำงานเต็มเวลา มีความมั่นคงในรายได้ขึ้น รวมถึงค่าเดินทางไปทำงานและค่าเช่าที่พักอาศัยของกลุ่มลูกจ้างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนเกิดเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีลดลง เนื่องจากมีแหล่งงานใกล้ชุมชน ส่วนผู้ผลิตไม้กลึงทางเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและส่วนราชการมีส่วนช่วยในการรวมกลุ่มอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการขยายตลาด ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านอาชีพด้านพาณิชยกรรมและการบริการและกลุ่มผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากโครงการคือกลุ่มที่อาชีพด้านพาณิชยกรรมและการบริการ คือเกิดธุรกิจหอพัก ร้านค้าบริการเพื่อรองรับคนงานจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และเกิดร้านค้าของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ทำให้ผู้ประกอบอาชีพค้าขายในมีรายได้สูงขึ้นและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ประกอบกับผลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรมเพิ่มขี้น ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง มีโอกาสในการเลือกทำงานที่มากกว่าจึงไม่ทำงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และอีกส่วนหนึ่งเคยไปสมัครงานในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แต่ไม่มีตำแหน่งงานรองรับ |
Other Abstract: | This thesis studies the economic impact of the chaingmai night safari.The assumption of this project is that the the population sample who work at the Chiangmai Night safari which has earned higher income more than the sample who does not work at the Chiangmai Night safari. The outcome of the study can be concluded that the population sample which worked at the chiangmai night Safari did not receive higher income than those who did not work there. The population sample which worked at the chiangmai night Safari was directly affected from the establishment of the project, as the population samples were divided into 2 groups: the group which were employed directly by the chiangmai night Safari and the group of lathe wood carpenters.For the first group, the employment condition has been changed from casual to permanent employment, which they could work full time, more secure income, the cost of transportation and renting of those who live in the study area were decreased, as the work location is nearby, while the chiangmai night safari and government sectors supported lathe wood carpenters in term of building up the lathed wood carpenter association, product development and market expansion. For the population sample, which did not work at the chiangmai night safari, could be divided into the group of traders and service providers, and other occupations which did not related to the chaingmai night safari. Traders and service providers are indirectly affected by the project, as there are souvenir shops for Chiangmai night safari tourist and serviced apartment established nearby, which these traders can earn extra money and this is an economic stimulus for the studied area, including with the change of land using and the expansion of area development. The population sample which were not affected from the chiangmai night safari was the middle class population which had high educations as they have more career opportunities rather than to work at the chiangmai night safari. While the other population sample used to apply for a job at the chiangmai night safari but there were no vacancy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43849 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1306 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1306 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5473339625.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.