Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43850
Title: อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมกับความรู้สึกไม่สบายตา
Other Titles: EFFECT OF ENVIRONMENTAL COLOR ON VISUAL DISCOMFORT
Authors: สุรีย์ลักษณ์ ธินา
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vorapat.i@chula.ac.th
Subjects: สีในการออกแบบ
แสงธรรมชาติ
Color in design
Daylight
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันกระจกสี เริ่มได้รับความนิยมใช้ในอาคารที่ต้องการใช้แสงจากธรรมชาติ เนื่องจากคุณสมบัติด้านความสวยงาม การกรองแสง และ การป้องกันความร้อน หากแต่สถาปนิกและนักออกแบบยังขาดความเข้าใจในผลกระทบจากการใช้กระจกสีต่อผู้ใช้อาคาร โดยเฉพาะด้านความรู้สึกไม่สบายตา งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมต่อความรู้สึกไม่สบายตา โดยศึกษาเฉพาะ สภาพแวดล้อมภายในอาคารสำนักงาน ที่มีการใช้แสงธรรมชาติส่องผ่านกระจกสี ในการวิจัยนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 105 คน มองผ่านหุ่นจำลองของอาคารสำนักงาน ที่ติดตั้งแผ่นอคริลิคสีจำนวน 12 ชิ้น (ค่าสัมประสิทธิ์การส่องผ่านของแสง ตั้งแต่ 0.08-0.92) ในบริเวณช่องเปิดของพื้นที่อาคารสำนักงานตัวอย่าง โดยเลือกศึกษาเฉพาะสีของกระจกที่มีการติดตั้งทั่วไปทั้งภายในและภายนอกอาคาร และให้ค่าคะแนนความรู้สึกไม่สบายตาหลังจากที่ได้มองผ่านหุ่นจำลอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลได้มีการเปรียบเทียบค่าคะแนนความรู้สึกไม่สบายตาจากการมองกระจกสีและเปรียบเทียบค่าคะแนนกับการมองกระจกที่ไม่มีสีที่มีค่าสัมประสิทธิ์การส่องผ่านของแสง ที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงอิทธิพลของความชอบสีส่วนบุคคลที่มีต่อการให้คะแนนความรู้สึกไม่สบายตา จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าแสงสีจากกลุ่มสีตัวอย่างจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตามากกว่าแสงสีขาว (ไม่มีสี) โดยเฉพาะแสงในโทนสีร้อน เช่น สีแดง, สีส้ม, สีชมพู และ สีเหลือง จะให้ความรู้สึกไม่สบายตามากกว่าแสงในโทนสีเย็น ซึ่งให้ผลที่แตกต่างจากการวิเคราะห์ค่าความไม่สบายตาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังพบว่าความพึงพอใจเฉพาะส่วนบุคคลที่มีต่อสีส้มและชมพู สามารถส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตาที่มีต่อสีต่างๆ ลดลง ทั้งนี้งานวิจัยนี้สรุปว่า ควรมีการศึกษาทางอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมกับความรู้สึกไม่สบายตา.เพิ่มเติมโดยอาจทำการทดลองในห้องที่มีขนาดจริง ใช้จำนวนผู้ทดลองเพิ่มขึ้น และเพิ่มการศึกษาด้านอิทธิพลของความชอบสีส่วนบุคคลที่มีต่อความรู้สึกไม่สบายตา
Other Abstract: Colored glass is currently widely used in buildings which require natural light because of its beauty, its ability to filter glare and the fact that it is heatproof. The architect or the designer, however, is not aware of its effects on those working or living in such buildings, particularly their visual discomfort. This research investigated only the indoor environment of an office equipped with colored glass. Seventy-five subjects were asked to look through an office model equipped with 12 pieces of colored acrylic glass (the co-efficient index of transparency was between 0.08 and 0.92). The colored glass was set up in the open space of the model. Daylight Glare Index (DGI) was measured only when the subjects looked through the colored glass commonly used for both inside and outside the building. The results were compared with those obtained when the subjects looked through the plain glass (daylight) which had a co-efficiency index of transparency about the same as that of the colored glass. Additionally, personal preference towards color was examined to see whether it affected the scale that one rated for visual discomfort. It was found that the light passing through the colored glass caused more visual discomfort than that passing through the plain glass. The warm colors, in particular, such as red, orange, pink and yellow created more visual discomfort than the cool colors, as a result, the discrepancy between the Daylight Glare Index of these two color groups was high. Those who preferred orange and pink agreed that these two colors did not cause much visual discomfort. It is suggested that a further study on this topic should be carried out in a real situation. More subjects should be included and a wider range of color preference should also be taken into consideration.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1307
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1307
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473403025.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.