Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43858
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO PREHOSPITAL TIME IN PATIENTS WITH ACUTE ISCHEMIC STROKE
Authors: จิณัฐตา คำสารีรักษ์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: jchanokp@hotmail.com
Subjects: หลอดเลือดสมอง -- โรค -- การรักษา
Cerebrovascular disease -- Treatment
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับการรักษาและความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะอาการ ระดับความรุนแรงของของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด เพศ อายุ ช่วงของวันที่เกิดอาการครั้งแรก สถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง การตอบสนองต่ออาการด้านการรู้คิด และการตอบสนองต่ออาการด้านอารมณ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลการเจ็บป่วย แบบสอบถามการตอบสนองต่ออาการที่ผู้วิจัยปรับมาจากแบบสอบถามการตอบสนองต่ออาการของ Dracup and Moser(1997) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย โดยวัชรี พิมพ์ภักดี (2551) โดยมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาร์ค เท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบพอยไบซีเรียล ANOVA และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน มีค่าเฉลี่ย 5.05 ชั่วโมง ค่ามัธยฐาน 3.3 ชั่วโมง และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.87 ชั่วโมง 2. บุคคลที่เกี่ยวข้องขณะผู้ป่วยเกิดอาการมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=2.476) 3. การตอบสนองต่ออาการด้านการรู้คิด ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของอาการและการรับรู้ความสำคัญของอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01( r= -.248 , -.339 ตามลำดับ) 4. การตอบสนองต่ออาการด้านอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกกังวลเมื่อเกิดอาการและความรู้สึกกลัวสิ่งที่จะตามมาเมื่อเกิดอาการ มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ( r = -.239 และ -.217 ตามลำดับ)
Other Abstract: This research was a descriptive research. The research purposes were to investigate the prehospital time and relationships among selected factors including characteristics of symptoms, severity of symptoms, gender, age, point of time that symptoms occurred, places, people involvement during symptoms occurred, cognitive response and emotional response and prehospital time. The samples were 120 ischemic stroke patients aged 18 years and over, admitted in medical wards at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, Buriram Hospital, Chaiyaphum Hospital and Khon Kaen Hospital. The instruments used for data collection were the demographic data form, illness history questionnaire, and response to symptoms questionnaire that applied from the original version of Dracup and Moser (1997) which was translated into Thai version by Watcharee Pimpakdee (2008). This instrument was tested for content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability tested by Cronbach’s alpha was 0.70. Data were analyzed by using mean, standard deviation, Point Biserial correlation, ANOVA and Pearson’s production-moment correlation. The results were as follows: 1. Mean of prehospital time in patients with acute ischemic stroke was 5.05 hours, medieian was 3.3 hours and standard deviation was 4.87 hours. 2. People who participated during symptoms occurred was statistically significant correlated to prehospital time of patients with acute ischemic stroke at .05 (F = 2.476). 3. The cognitive representation including perceived of severity and importance of symptoms were negatively significant correlated to prehospital time of patients with acute ischemic stroke at .01 (r = - .248, - .339, respectively). 4. The emotional representation including anxious when symptoms occurred and fear on effects of symptom were negatively significant correlated to pre-hospital time of patients with acute ischemic stroke at .01 and .05 (r = - .239 and - 217 respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43858
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1315
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1315
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477157436.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.