Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorอังศุธร อังคะนิตen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:38Z-
dc.date.available2015-06-24T06:45:38Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43873-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมาใช้ในการจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน (2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชนและ (3) ศึกษาผลของจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 9-12 ปี ในชุมชนบ้านหนองแต้ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้หลักการ PAR และ PBL เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม 2. แบบวัดทักษะทางสังคมของเด็ก 3. แบบสังเกตทักษะทางสังคมของเด็ก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน การทดลองมีจำนวน 50 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กในชุมชนบ้านหนองแต้ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีระดับทักษะทางสังคม อยู่ในระดับดี (Mean = 3.65, S.D. = 1.57) 2) การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน มีกระบวนการของกิจกรรมตามแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ ได้แก่ 1) การประชุมกลุ่มเรียนรู้บทบาทในการจัดกิจกรรม 2) เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการละเล่นพื้นบ้าน 3) เลือกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา 4) เขียนเค้าโครง โครงงานการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) ลงมือปฏิบัติโครงงาน 6) เขียนรายงาน จัดทำแผงแสดงโครงงาน 7) นำเสนอผลงานการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 8) แลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปปัญหา และสิ่งที่ได้จากการทำงาน ซึ่งสามารพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชนได้ 3) ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน พบว่า เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับทักษะการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม ทักษะการแก้ปัญหาในกลุ่ม ทักษะการช่วยเหลือผู้อื่น และทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research was a Participatory Action Research (PAR) used a Project-based Learning (PBL). The objective of this study were to 1) Study social skills grade of children in community, Ban Nong Tae, Non Khwang District, Buriram Province. 2) Study effects of organizing participatory non-formal education activities to develop folk plays integrating with local wisdom social skills social skills of children in the community. The children were research sample groups aged between 9-12 years. There were 30 people. Research instruments used were 1) a plan effects of organizing participatory non-formal education activities to develop folk plays integrating with local wisdom social skills social skills of children in the community that was developed by the researcher, 2) a measure of children's social skills, 3) an observation of children's social skills. These research instruments verified the content validity (Content validity) of 5 experts will analyze data by using percentage, mean and standard deviation and statistical test (t-test dependent). This research found that : 1) Children in Ban Nong Tae community have a good social skills ( Mean = 3.65, S.D. = 1.57) 2) Developing non - formal educational activities and participation to develop folk plays integrating with local wisdom social skills of children in the community has the processes with the Participatory Action Research (PAR) and Project-based Learning (PBL) concept such as There are totally 8 activities such as 1) seminar about the role of learning activities, 2) learn about local wisdom and folk plays, 3) choose to study local wisdom, 4 write the outline of the folk plays integrating with local wisdom project, 5) implement the project, 6) report the project plan, 7) present the folk plays integrating with local wisdom project and 8) discuss the learning problem and everything, that has from the work, can improve social skills of children. 3) Effects of organizing participatory Non-Formal education activities to develop folk plays integrating with local wisdom social skills of children in the community were to the children that attend to the activities have social skills of participation in working groups, problem-solving skills in a group, skills to help others, and the skill of the leader and follower, before attending the activity and after attending was significantly different at the 0.05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.3-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.subjectทักษะทางสังคมในเด็ก-
dc.subjectNon-formal education-
dc.subjectSocial skills in children-
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEFFECTSOFORGANIZINGPARTICIPATORY NON-FORMAL EDUCATIONACTIVITIES TO DEVELOP FOLK PLAYS INTEGRATING WITHLOCAL WISDOMSON SOCIAL SKILLS OF CHILDRENIN THE COMMUNITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirathep.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.3-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483493127.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.