Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43876
Title: | ความชอบธรรมของอำนาจในการอภัยโทษ |
Other Titles: | JUSTIFICATION OF PARDONING POWER |
Authors: | ชฎารัตน์ ทองรุต |
Advisors: | ชัชพล ไชยพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | chachapon.j@chula.ac.th |
Subjects: | อภัยโทษ กฎหมายมหาชน Pardon Public law |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความชอบธรรมของอำนาจในการอภัยโทษ โดยศึกษาถึงความชอบธรรมบนพื้นฐานของทฤษฎี หลักการ และแนวความคิดทางกฎหมายมหาชน และอาชญาวิทยา และหลักธรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งความชอบธรรมในทางปฏิบัติทั้งในไทยและต่างประเทศ การใช้อำนาจในการอภัยโทษเดิมมาจากแนวคิดการให้ความกรุณาของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งถือว่าเป็นคุณธรรมหนึ่งของผู้ปกครอง และยังเป็นหลักธรรมที่ทุกศาสนายอมรับ อย่างไรก็ตามในทางพระพุทธศาสนาถือว่าการลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นผลของกรรมที่ได้ทำไว้ แต่เป็นที่สังเกตว่าทุกศาสนาฝ่ายเทวนิยมต่างมีพิธีกรรมในการขอขมาโทษเพื่อล้างบาปต่อพระเจ้า โดยพระเจ้าจะให้อภัยได้ต่อเมื่อมีเงื่อนไขสำคัญว่าผู้กระทำผิดต้องสำนึกผิดกับความผิดที่ได้ทำมาแล้ว นอกจากนี้หลักธรรมของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะทศพิธราชธรรมก็ส่งเสริมให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องพระราชอาญา ทั้งนี้จักต้องทำโดยถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้สมควรได้รับตามทฤษฎีการลงโทษแบบแก้แค้นทดแทน และต้องคำนึงถึงทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยมที่จะต้องนำความสุขให้แก่สังคมโดยรวม สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องเฉลิมพระบารมีของพระมหากษัตริย์ให้เปี่ยมไปด้วยพระเดชและพระคุณอย่างได้ดุลยภาพ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยอมรับอำนาจในการอภัยโทษของพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจเด็ดขาดดั้งเดิม ซึ่งดูเหมือนจะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศอังกฤษแม้อำนาจอภัยโทษจะเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์อังกฤษแต่ก็มีลักษณะที่เป็นแบบพิธี โดยทรงพระราชวินิจฉัยตามความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สำหรับประเทศญี่ปุ่น เดิมทีที่พระจักรพรรดิมีพระราชอำนาจในการอภัยโทษอย่างเด็ดขาด ต่อมาได้จำกัดพระราชอำนาจในการอภัยโทษให้เป็นไปตามคำยินยอมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นการใช้อำนาจในนามประชาชน ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีมีอำนาจในการอภัยโทษในความผิดต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าอำนาจในการอภัยโทษในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่างจำกัด การอภัยโทษแต่ละปีมีไม่มาก เนื่องจากการอภัยโทษถูกใช้ในฐานะที่เป็นทางออกฉุกเฉินเมื่อกฎหมายถึงทางตัน จึงถือได้ว่าการอภัยโทษเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสูงสุดที่ทำให้เกิดความยุติธรรม เช่นนี้ การอภัยโทษจึงเป็นมาตรการที่ถูกต้องชอบธรรม ประเด็นสำคัญ อำนาจในการอภัยโทษ ถือเป็นการตรวจสอบและรักษาดุลการใช้อำนาจตุลาการให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริงอันถือเป็นการช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอำนาจตุลาการ เพราะอำนาจตุลาการโดยศาลนั้นทำได้แค่วินิจฉัยอรรถคดีตามข้อกฎหมาย แต่อำนาจในการอภัยโทษโดยประมุขแห่งรัฐนั้นสามารถพิจารณาถึงความยุติธรรมทางสังคมที่กฎหมายเข้าไปไม่ถึงได้ อันนำมาซึ่งความยุติธรรมที่แท้จริงในทั้งทางกฎหมายและทางสังคม ทำให้ความชอบธรรมของอำนาจในการอภัยโทษดำรงอยู่ในสังคมโลกมาจนถึงปัจจุบัน |
Other Abstract: | This paper aims to study justification of pardoning power based on theories, principles, the concepts of public laws and criminology and other ethical issues involved. Also the justification practice in both Thailand and foreign countries is studied. Formerly, the authority to reinforce the pardon originated from the mercy of sovereignty which the pardon at that time was considered a ruler’s ethics while being the morality which every religion must accept. However, in Buddhism, punishment is considered essential because it becomes the result of the action or ‘Karma’. However, people who commit crimes must receive the karma. Obviously, every religion on the field of theism has pardon rituals to expiate people’s sin from the God. The god will be able to give out pardons only in case that the people must regret with their mistakes and crimes. Beside, a king’s ethics especially in the virtues of the king will promote him to give out pardons to criminals. However, he must proceed it in the appropriate and moral way by giving out pardons based on the retributive theory and the consideration of the utilitarian theory which must bring happiness to a society as a whole. This action will help promote the king’s ethical power and authority with balance. The constitution of Thailand accepts that the king’s pardon authority is absolute. The Thai constitution is different from other countries. In England, the pardon authority of the English queen is in the type of rituals. She considers giving out pardon based on the opinion of the minister of interior of England. In Japan, the absolute power of its kings to the pardon authority of the Japanese team of ministers. The change of that turns to use Japanese citizens’ power. In the United States of America, the U.S. presidents have pardon authority for crimes against federal government. Interestingly, the pardon authority in America is limited. Each year there are not many cases gaining pardons because pardoning is used only as emergencies or when there is no way out of laws. Therefore, in America, a pardon giving is considered as an ultimate reason to make justice occur. As a result, pardoning can be the measurement of justice and morality. Most importantly, pardoning is to check and to balance the judicial power in gaining real justice in order to respond to the principle of judicial power. The court power is to consider cases based on laws but the pardon power by the head of a state can help consider social justice which laws cannot cover. It has been the justification in pardoning to remain in this world until now. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43876 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1335 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1335 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5485964834.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.