Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัยen_US
dc.contributor.authorนรฤทธิ์ ตันติวุฒิไกรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:39Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:39Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43878
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractด้วยเหตุที่มาตรา 65 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรในปัจจุบันได้บัญญัติให้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่าย ซึ่งในกรณีเช่นนี้เมื่อรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์สิทธิ กิจการก็ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ แม้รอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะยังไม่ได้รับชำระหนี้ รายได้ดังกล่าวจึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ได้รับชำระหนี้เลยหรือไม่อาจใช้สิทธิในการรับชำระหนี้ได้โดยแท้ กิจการก็มีความจำเป็นต้องจำหน่ายหนี้ดังกล่าวนั้นเป็นหนี้สูญออกไป ซึ่งอาจมีผลให้นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวก็ย่อมต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186ฯ ที่ออกตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้มุ่งเน้นศึกษาหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 186 ในปัจจุบันว่าสอดคล้องกับหลักการทางบัญชี หลักการทางภาษีอากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักความเป็นธรรมทางภาษีอากร ตลอดจนหลักการจำหน่ายหนี้สูญในกรณีอื่นๆ อาทิเช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ตลอดจนการจำหน่ายหนี้สูญในกรณีอื่นๆหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ อาทิเช่นลักษณะพิเศษเฉพาะของการจำหน่ายหนี้สูญในทางบัญชีที่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการสะท้อนความเป็นจริงของสถานะของกิจการ ตลอดจนรูปแบบการจำหน่ายหนี้สูญในกรณีของต่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นที่มีการนำเอาวิธีการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือจากการจำหน่ายหลักประกันมาปรับใช้ ทั้งนี้สำหรับปัญหาที่พบสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญในปัจจุบันที่พึงพิจารณา เช่น การรับหลักการจำหน่ายหนี้สูญในทางบัญชีเข้ามาปรับใช้กับการจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร การจำหน่ายหนี้สูญตามกฎกระทรวงฉบับที่ 186 ที่ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นธรรม และข้อควรพิจารณาเมื่อเปรียบเทียบกับหลักการจำหน่ายหนี้สูญในต่างประเทศ ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ให้มีความเหมาะสม ชัดเจนและเป็นธรรมยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeWith respect to section 65 paragraph 2 of the Revenue Code currently applicable prescribed that a company or juristic partnership shall use an accrual basis to calculate income and expenses. In such a case, when income is derived in accordance with the accrual basis, such income shall be included in the calculation as income, even though it is not yet received in such accounting period. It is possible for such income to not be received or not be entitled to be paid. The business is required to write off such debts that might cause such legal entity to pay lesser corporate income tax. Writing off bad debts must be done in accordance with rules, procedures and conditions prescribed by the Ministerial Regulation No. 186 issued under section 65 Bis (9) of the Revenue Code. This thesis was aimed to study the criteria for writing off bad debts prescribed in the Ministerial Regulation No. 186 in effect as to whether it is in compliance with accounting principles and taxation principles, particularly the fairness principle, including write- off method in other countries such as Japan, United Kingdom and Germany. The study showed that there were many interesting issues: the characteristic of the write-off in accounting which a reserve for an allowance for doubtful accounts was set up to reflect the truth of the business condition, as well as the bad debt write-off methods used overseas or in other agencies by applying method of calculation of present value of expected cash flow from debtors or sale of collateral. The questions found from the write-off applicable at present are to be taken into account: the adoption of the principle of write-off in accounting to be applied to the write-off under the Revenue Code and the Ministerial Regulation No. 186 that is currently not consistent with the fairness, and the things are to be taken into consideration when compared with the principle of write-off bad debts in overseas. Consequently, the writer recommends that rules, procedures and conditions of the Ministerial Regulation No. 186 (B.E. 2534) should be amended to be clearer, more suitable and fairness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1324-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้
dc.subjectรัษฎากร
dc.subjectภาษีเงินได้
dc.subjectหนี้
dc.subjectCivil and commercial law -- Debt
dc.subjectRevenue
dc.subjectIncome tax
dc.subjectDebt
dc.titleความเป็นธรรมในการจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากรen_US
dc.title.alternativeFAIRNESS IN BAD DEBT WRITTEN ACCORDING TO REVENUE CODEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTithiphan.C@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1324-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485989534.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.