Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43879
Title: มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ
Other Titles: Legal measures for improving supervisory of Government - owned Banks
Authors: ปนิธิ ภูเจริญ
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
ชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: tsakda@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
นโยบายการเงิน
Nonbank financial institutions
Monetary policy
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธนาคารเฉพาะกิจเป็นสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่งเสริมหรือแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ หรือสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการจากธนาคารพาณิชย์เอกชนได้ ทำให้ปัจจุบันธนาคารเฉพาะกิจจึงยังคงมีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาของมาตรการทางกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจยังไม่เพียงพอ รวมไปถึงโครงสร้างและบทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจยังมีความไม่เหมาะสม ทำให้การกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเห็นควรให้มีการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลด้านความมั่นคงให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้านเทียบเคียงได้กับธนาคารพาณิชย์และแยกการกำกับดูแลธุรกรรมที่ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐออกจากธุรกรรมปกติของธนาคาร รวมไปถึงแก้ไขอำนาจตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจแทนกระทรวงการคลัง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล ลดภาระทางการคลัง และส่งเสริมให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
Other Abstract: Specialized Banks are government-owned financial institutions that have been established by specific acts. Objectives of specialized banks are to implement government policies e.g., business development, promoting specific economics sector or solving economic problem and helping consumers to get access to financial resources. Nowadays, specialized banks play important role in Thailand’s economic development. However, legal measures or regulations relating to supervising specialize banks are not adequate. Moreover, regulatory supervision on specialized bank is not very effective since there are problems on improper supervisory structures and improper role of regulator. For These reasons, it is necessary to improve specific legal measures related to supervision on specialized banks. This author suggests that supervisory body should issue a set of prudential regulations that cover all risk management for the specialized banks and separate government policy-oriented transactions from normal commercial transactions. In order to enhance effective of the specialized banking supervision, reduce fiscal liabilities and promote the sustainable the specialized banking, this author suggests that the Bank of Thailand should become a main supervisor of the specialized banks instead of Ministry of Finances.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43879
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1337
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1337
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486227134.pdf12.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.