Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4388
Title: พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศอังกฤษและประเทศไทย
Other Titles: The royal prerogative in law and constitutional conventions : a comparative study of Great Britain and Thailand
Authors: เจษฎา พรไชยา
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กษัตริย์และผู้ครองนคร -- ไทย
กษัตริย์และผู้ครองนคร -- อังกฤษ
รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
รัฐธรรมนูญ -- อังกฤษ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แต่เดิมนั้น พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างกว้างขวาง ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ในปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าว ผ่านทางฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่ายตุลาการ ภายในกรอบของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีบทบาทใดๆ หลงเหลืออยู่ในการบริหารราชการแผ่นดิน จากการศึกษาสามารถสรุปความเหมือนและแตกต่างของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และอังกฤษได้เป็นสามส่วน คือ หนึ่ง ในส่วนของพระราชฐานะนั้น โดยทั่วไปแล้วไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ความแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดก็คือ ในประเทศอังกฤษมีแนวคิดว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่แนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏในประเทศไทย สอง ในส่วนของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะของการใช้พระราชอำนาจที่คล้ายคลึงกัน แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันในเนื้อหาก็คือในปัจจุบันมีแนวโน้ม ที่พระมหากษัตริย์อังกฤษจะทรงลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากแนวโน้มของการที่หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ไม่มีพรรคการเมืองใดได้ที่นั่งในสภาสามัญเกินกึ่งหนึ่ง ทำให้อำนาจในการตัดสินใจเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ตกอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ไทยนั้นทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริง โดยจะทรงลงมาแก้ไขสถานการณ์วิกฤติของประเทศ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลที่มีหน้าที่บริหารประเทศ ไม่สามารถจะดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ได้แล้วเท่านั้น สาม ในส่วนของบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษเพิ่งจะเริ่มมีบทบาทในทางสังคมใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งบทบาทดังกล่าวเป็นบทบาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงถือปฏิบัติมายาวนานเกินกว่ากึ่งศตวรรษแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พระราชอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยทรงริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อช่วยให้ราษฎรมีอยู่มีกิน ทรงปฏิบ้ติพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชนทั้งในด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้ง ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีแก่ประชาชน การใช้พระราชอำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนี้ ถือเป็นการใช้พระราชอำนาจที่โดดเด่นกว้างขวาง เกินกว่าที่ทฤษฎีเกี่ยวกับพระราชอำนาจใดๆ จะสามารถเขียนถึงได้หมดสิ้น
Other Abstract: Previously, King has a broad authority to govern all ther administration throughout the country. However, nowadays, King can only exercise such authority through the executives legislation and judiciary according to the provisions provided by constitution and uncodified constitutional conventions. Thus, sometime, it is understood that King has no longer contribute any authority to administration country anymore. From the research, the like and differentiate between the Institution of the King in Thailand and Great Britain can be identified as three parts. First, with respect to the royal positions, in general, there are no obvious differentiate. Nonetheless, the most distinguish issue is that in Great Britain, King is the head of the executives. Such concept does not exist in Thailand. Secondly, with regard to the exercising of royal prerogative, in general are similar. The different is that recently there is a tendency that King in Great Britain may be involved in political affairs more than ever. This isbecause, after general election, there was no party can gain a seat in House of Common more than a half. Then a right to choose the Prime Minister, thus, goes to the King. However, the King in Thailand is always situated above the political issues. The King will only take a participation in the executives decision only when the government, who responsible for an administration, is incapable to administrate and rectify the Kingdom's crisis. Finally, regarding the King's roles in modern state, the King of Great Britain just recently started to participate in the public welfare and take more closer to people. But the King in Thailand, especially King Bhumibol, has been acted as such for more than a half of century. King Bhumibol has exercise his royal charisma to create a well-being of his people by creating a various kind of projects to raise people economic, moral and ethic which is greater and wider beyond the scope of any theory.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4388
ISBN: 9741305389
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jesada.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.