Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43893
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์en_US
dc.contributor.authorเฉลิมพล ไผทพฤกษ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:44Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:44Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43893
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาลักษณะการกระจายตัวของอุณหภูมิ การกระจายตัวของความเร็ว ลักษณะการไหลของอากาศ และความสบายเชิงความร้อนภายในห้องปรับอากาศโดยใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขในการศึกษา ห้องปรับอากาศที่พิจารณามีสองประเภทคือ ห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแทนที่และห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแทนที่ร่วมกับการทำความเย็นโดยการแผ่รังสีจากเพดาน ในการศึกษานี้จะสมมติให้การไหลเป็นการไหลแบบไม่อัดตัวที่สภาวะคงตัวในสองมิติและมีลักษณะการไหลแบบปั่นป่วน ขณะที่การถ่ายเทความร้อนของปัญหานี้จะพิจารณาการแผ่รังสีความร้อนร่วมกับการพาความร้อนแบบผสมซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างการพาความร้อนแบบอิสระกับการพาความร้อนแบบบังคับ การตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณนี้จะเปรียบเทียบกับผลการทดลองและการคำนวณเชิงตัวเลขของงานวิจัยในอดีต ซึ่งจากการเปรียบเทียบพบว่ามีความใกล้เคียงกับทั้งผลการทดลองและการคำนวณเชิงตัวเลขของงานวิจัยอื่น ๆ สำหรับการศึกษาห้องปรับอากาศที่พิจารณามีสองขนาดคือ ห้องที่มีอัตราส่วนความสูงต่อความกว้างเท่ากับ 0.6 และ 1.67 อุณหภูมิและความเร็วของอุปกรณ์จ่ายลมเย็น อุณหภูมิของแผงทำความเย็นที่เพดานและตำแหน่งของช่องลมกลับจะถูกศึกษาเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดระหว่างระบบปรับอากาศแบบแทนที่และระบบปรับอากาศแบบแทนที่ร่วมกับการทำความเย็นโดยการแผ่รังสีจากเพดาน จากการศึกษาพบว่าระบบปรับอากาศแทนที่ร่วมกับการทำความเย็นโดยการแผ่รังสีจากเพดานจะมีค่าความสบายเชิงความร้อนที่ดีกว่า เช่น มีค่าความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวดิ่งน้อยกว่า และมีค่าเปอร์เซ็นต์ความไม่สบายของร่างกายเนื่องจากความหนาวเย็นของอากาศที่น้อยกว่า เป็นต้น นอกจากนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะแสดงลักษณะการกระจายตัวของอุณหภูมิ การกระจายตัวของความเร็ว ลักษณะการไหลของอากาศและเปรียบเทียบค่าความสบายเชิงความร้อนของห้องปรับอากาศทั้งสองชนิด ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในเชิงกายภาพของการปรับอากาศมากขึ้นรวมถึงสามารถนำข้อมูลจากการศึกษาไปใช้ประกอบการออกแบบระบบปรับอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies temperature distribution, airflow patterns and thermal comfort within air conditioned room by using a computational method. Two air conditioning systems are considered, i.e., the room with displacement air conditioning system and the room with displacement air conditioning system and radiant ceiling cooling. In this study, the airflow is assumed to be Newtonian, incompressible, turbulent and two dimensional at steady state. Heat transfer mechanism is radiation and mixed convection that combined between natural and force convection. Numerical accuracy of the present calculation is validated with previous experimental data and numerical calculation in available literature. From the validation is found the results agree well with the published experimental data and other numerical works. Two room sizes are investigated, i.e. a wide room (AR of 0.6) and a tall room (AR of 1.67) The diffuser temperature and velocities, cooling panel temperature, and the positions of return air duct are investigated to compare between both systems. It is found that the room with displacement air conditioning and radiant ceiling cooling provides better thermal comfort, i.e., lower vertical temperature difference and lower percentage dissatisfied due to draft at ankle level. In addition, this thesis displays the temperature contour, airflow patterns and comparison of thermal comfort between both systems which make better understanding on physical air conditioning system. The studied data can be applied to design air conditioning system effectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1346-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการปรับอากาศ -- การควบคุม
dc.subjectการปรับอากาศ -- แบบจำลอง
dc.subjectแบบจำลองทางวิศวกรรม
dc.subjectAir conditioning -- Control
dc.subjectAir conditioning -- Models and modelmaking
dc.subjectEngineering models
dc.titleแบบจำลองเชิงตัวเลขของระบบปรับอากาศแบบแทนที่ร่วมกับการทำความเย็นแบบแผ่รังสีจากเพดานen_US
dc.title.alternativeA NUMERICAL MODEL FOR DISPLACEMENT AIR CONDITIONING SYSTEM WITH RADIANT CEILING COOLINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsompong.pu@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1346-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570150821.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.