Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43894
Title: การประเมินพฤติกรรมของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แผ่นดินไหวโดยพิจารณาผลของผนังอิฐก่อ
Other Titles: EVALUATION OF REINFORCED CONCRETE BUILDINGS UNDER EARTHQUAKES CONSIDERING EFFECTS OF MASONRY INFILLS
Authors: ชนิภา เนตรรัตนะ
Advisors: ทศพล ปิ่นแก้ว
ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: tospol_pk@yahoo.com
lpanitan@chula.ac.th
Subjects: อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
แผ่นดินไหว
Buildings, Reinforced concrete
Earthquakes
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำการศึกษาผลกระทบของผนังอิฐก่อที่มีต่อพฤติกรรมไม่เชิงเส้นของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แรงแผ่นดินไหว จากผลการทดสอบในประเทศไทย พบว่าโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผนังอิฐก่อของไทย ผนังอิฐก่อจะวิบัติแบบการแตกร้าวที่มุมแล้วตามด้วยการวิบัติด้วยแรงเฉือนที่หัวเสา งานวิจัยชิ้นจึงได้เสนอแบบจำลองผนังอิฐก่อของไทย โดยการแทนผนังอิฐก่อด้วยค้ำยันสองตัว ผลการวิเคราะห์เปรียบกับผลทดสอบแสดงให้เห็นว่า แบบจำลองที่เสนอสามารถจำลองกำลังรับแรงด้านข้างสูงสุดและลำดับการวิบัติของผนังอิฐก่อของไทยได้ จากนั้นจึงนำแบบจำลองผนังอิฐก่อไปใช้ทำการศึกษาผลกระทบของผนังอิฐก่อที่มีต่อพฤติกรรมไม่เชิงเส้นของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น และ 10 ชั้น ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบสถิตศาสตร์ไม่เชิงเส้น และ วิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีสถิตศาสตร์ไม่เชิงเส้น แสดงให้เห็นว่า ผนังอิฐก่อทำให้สติฟเนสของอาคารเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้คาบของอาคารที่มีผนังอิฐก่อจึงสั้นลง ส่วนการวิเคราะห์แบบพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวจำนวน 7 คลื่น จากผลการวิเคราะห์อาคาร 4 ชั้น พบว่าอาคารที่ไม่มีผนังอิฐก่อวิบัติภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่ความรุนแรง 2%/50 แต่อาคารที่มีผนังอิฐก่อสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับนี้ได้ สำหรับอาคาร 10 ชั้นที่ไม่มีผนังอิฐก่อจะเสียหายอย่างมากภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่ความรุนแรง 2%/50 แต่อาคาร 10 ชั้น ที่มีผนังอิฐก่อพบว่าเกิดความเสียเล็กน้อย ดังนั้นในการวิเคราะห์อาคารภายใต้แรงแผ่นดินไหวจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบของผนังอิฐก่อ จึงจะทำให้ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมอาคารถูกต้องและใกล้เคียงสภาพเป็นจริง โดยแบบจำลองผนังอิฐก่อที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมและให้พฤติกรรมที่สอดคล้องกับรูปแบบความเสียหายของไทยด้วย
Other Abstract: In this research, the effects of masonry infills on nonlinear behavior of R/C buildings under severe earthquakes are investigated. The scaled model experiments on Thai masonry infill indicate that the failure of masonry infill is initiated by corner crushing mode before shear failure in upper part of column. So, the two-strut model is proposed to capture Thai masonry infill behavior. It is showed that peak lateral load and failure sequence of masonry infill predicted from model are similar to the experimental results. The effects of masonry infill on nonlinear behavior of 4 and 10 story R/C buildings under earthquakes are investigated by nonlinear statics analysis and nonlinear time history analysis. From nonlinear statics analysis, the results show that including masonry infill in structured model significantly shortern the period of building due to its additional lateral stiffness. For nonlinear time history analysis, about 7 earthquake records are selected and employed as the input. It is found that the 4 story building without masonry-infilled will collapse under 2%/50 earthquake while the building with masonry-infilled can stand with minor damages. The 10 story building without masonry-infilled will get severe damages under 2%/50 earthquakes but the same buildings with masonry-infilled will have only minor damages. So it is concluded that the masonry-infilled walls need to be included in structure modeling in order to accurately predict the building responses.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43894
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1347
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1347
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570157221.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.