Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43936
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พร วิรุฬห์รักษ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | สมบัติ วนิชประภา | en_US |
dc.contributor.author | ชาคริต รักษมาตา | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:45:53Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:45:53Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43936 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การถอดแบบประมาณปริมาณวัสดุก่อสร้างเป็นกระบวนการที่เดิมทีใช้คนเป็นผู้ถอดแบบด้วยการนับและวัดปริมาณต่างๆจากแบบก่อสร้างในกระดาษหรือไฟล์คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดีการถอดแบบด้วยวิธีดังกล่าวยังมีวัสดุหลายประเภทที่มีความคลาดเคลื่อนจากการถอดแบบเนื่องจากตัวแบบที่มีความซับซ้อน ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการควบคุมต้นทุนการก่อสร้างจึงต้องการให้การถอดแบบประมาณปริมาณวัสดุก่อสร้างมีความแม่นยำมากที่สุดเพื่อลดต้นทุนจากวัสดุเหลือใช้ รวมถึงป้องกันไม่ให้วัสดุขาดแคลนขณะก่อสร้าง ในปัจจุบันเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคารหรือ BIM เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์เริ่มให้ความสนใจ ความสามารถอย่างหนึ่งของการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารคือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ลงมือถอดแบบแทนคนถอดแบบเดิม ซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษาในประเทศไทยว่าวิธีดังกล่าวมีความถูกต้องแม่นยำกว่าวิธีการถอดแบบโดยทั่วไปหรือไม่ อย่างไร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาว่า วิธีการถอดแบบด้วยวิธีทั่วไปที่ใช้คนเป็นผู้ถอดแบบและวิธีการถอดแบบด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคารนั้นวิธีการใดมีความแม่นยำมากกว่ากัน และแม่นยำกว่าด้วยสาเหตุใด โดยจะใช้กรณีศึกษาเป็นอาคารชุดจำนวน 1 อาคารในโครงการอาคารชุดของบริษัทแอลพีเอ็น ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอาคารรูปแบบมาตรฐานที่ทางบริษัทได้เคยใช้และกำลังจะนำไปใช้ต่อในโครงการในอนาคต อาคารดังกล่าวจะผ่านการถอดแบบด้วยวิธีทั่วไปโดยและถอดแบบด้วยวิธีการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร จากการศึกษาในรายการวัสดุที่เลือกมาทำการถอดแบบโครงสร้างทั้ง 2 วิธี ผลการวิจัยพบว่าการถอดแบบด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคารจะแม่นยำกว่าการถอดแบบโดยวิธีทั่วไปเนื่องจาก 3 สาเหตุ คือ 1. การเน้นความสะดวกของผู้ถอดแบบโดยวิธีทั่วไป 2. การคิดขาดตก บกพร่องในวิธีทั่วไป 3. การเผื่อปริมาณวัสดุซ้ำซ้อนในวิธีทั่วไป ซึ่งตัวแบบจำลองสารสนเทศอาคารแสดงให้ผู้ใช้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการคำนวณในแต่ละครั้งมีที่มาอย่างไร นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าปริมาณวัสดุที่ใช้วิธีทั่วไปในการถอดแบบงานโครงสร้างจะมีค่าต่างจากปริมาณวัสดุที่ใช้แบบจำลองสารสนเทศในการถอดแบบ โดยในรายการส่วนใหญ่ปริมาณวัสดุที่ให้แบบจำลองสารสนเทศอาคารถอดแบบจะมีค่าน้อยกว่าการถอดแบบโดยวิธีทั่ว และมีบางรายการที่น้อยกว่าถึงร้อยละ 34 โดยมีมูลค่าความแตกต่างถึงประมาณ 320,000 บาทต่อรายการ ในส่วนของงานสถาปัตยกรรมนั้นมีความแตกต่างถึงร้อยละ 35 และในงานระบบมีความแตกต่างถึงร้อยละ 39 แต่เมื่อคิดออกมาเป็นมูลค่าวัสดุจะเห็นว่าทั้งงานสถาปัตยกรรมและงานระบบมีมูลค่าต่อรายการต่ำกว่ามูลค่าของงานโครงสร้างอย่างมากจนเห็นได้ชัด เจ้าของโครงการจึงควรให้ความสนใจกับงานโครงสร้างมากกว่าเพื่อให้การควบคุมต้นทุนโครงการมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในท้ายที่สุดการนำ BIM มาใช้ในองค์กรนับเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆในการเลือกใช้เทคโนโลยี BIM ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในด้านระบบคอมพิวเตอร์ทั้งซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ รวมทั้งการฝึกฝนและค้นหาบุคลากรที่สามารถใช้งาน BIM ได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าของโครงการที่จะใช้ตรวจสอบต่อไปด้วย หากเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ความคุ้มค่าในการใช้งาน BIM จะมากกว่าองค์กรขนาดเล็กเพราะมีงานที่มีมูลค่าสูงเข้ามามากกว่า ส่วนองค์กรขนาดเล็กก็จะมีความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจเมื่อใช้ BIM สูงกว่าองค์กรที่ใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ BIM อย่างแน่นอน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Quantity take-off is an essential process that a quantity surveyor commonly uses as a method to calculate quantities of materials required in a construction. Generally the quantity surveyor will prepare the quantity take-off from a construction drawing by hands or by a computer-assisted software, such as AutoCAD. However, many attempts have shown errors in quantities when matching the calculated materials and the used materials on sites. This generally causes concerns of budget managements to every real estate developer. Building Information Modeling or BIM is a newly-introduced technology that is well-known at 3D building model generating. BIM also has a function that can support the quantity surveyor, which is the quantity take-off using the 3D model in BIM itself. Yet, in Thailand, there is no study to determine whether the quality take-off by BIM or by common method is more accurate. Thus, the main objective of this research is finding whether the BIM method or the common method is more accurate as well as the causes of the accuracy. The study focuses on a construction drawing of a condominium type A1 by LPN Development Co.,Ltd. (Public) and then calculates qualities of materials by two different methods. As a result, the quality take-off by both methods in the construction drawing shows 3 reasons that cause common method to be miscalculated: 1.) Simplifications by the quality surveyor 2.) Human’s errors in calculations and 3.) Overestimated material allowances. On the other hand, BIM shows the accurate calculation according to the model and thus lead to the conclusion that performing quality take-off by BIM is more accurate than performing by the common method. Furthermore, the differences in costs of materials reveal from the construction drawing that most of BIM calculations give less material amount and costs. The most different item has 34 percent less amount and bears 320,000 baht in the cost difference. Though, the architectural drawing and the MEP drawing reveal that some items also have more than 30 percent difference, their costs of materials are significantly low compared to those in the construction drawing. Therefore, to effectively manage construction budget, the developer should focus on controlling materials in the construction drawing instead of in the architectural drawing and the MEP drawing. Finally, BIM is an investment for an organization. The real estate developers must consider their capacities, such as hardware, software or available people, before they apply the technology to the organization. Applying BIM to a large-sized organization is usually worth than applying to a small-sized organization due to the number and the value of projects the large-sized organization can take. Nevertheless, the small-sized organization with BIM will definitely be able to gain competitive edges above other non-BIM organizations when they work on similar projects. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1391 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- การประเมินราคา | |
dc.subject | อสังหาริมทรัพย์ -- การประเมินราคา | |
dc.subject | ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ | |
dc.subject | Building materials -- Valuation | |
dc.subject | Real property -- Valuation | |
dc.subject | Management information systems | |
dc.title | ความแม่นยำในการถอดแบบประมาณปริมาณวัสดุก่อสร้างในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยวิธีทั่วไปและวิธีที่ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยประเภท A1 บริษัทแอลพีเอ็น ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) | en_US |
dc.title.alternative | ACCURACY OF QUANTITY TAKE-OFF FOR A PROJECT DEVELOPMENT USING COMMON METHOD AND BUILDING INFORMATION MODELING: A CASE STUDY OF CONDOMINIUM TYPE A1 BY LPN DEVELOPMENT CO.,LTD. (PUBLIC) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | VIRULRAK@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1391 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573302425.pdf | 6.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.