Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43959
Title: | กระบวนการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์โดยใช้รูปแบบละครจำลองชีวิตจริงของผู้ชมทางบ้าน |
Other Titles: | CREATIVE PROCESS OF TELEVISION PROGRAMMES USING A SIMULATED REAL-LIFE DRAMA OF THE AUDIENCE |
Authors: | สุดารัตน์ โคกคำยาน |
Advisors: | สุกัญญา สมไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | kayafiles@yahoo.com |
Subjects: | รายการโทรทัศน์ เหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต Television programs Life change events |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสรรหาและคัดเลือกแหล่งข้อมูล ศึกษากลวิธีในการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์โดยใช้รูปแบบละครจำลองชีวิตจริงของผู้ชมทางบ้าน รวมถึงทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อลักษณะดังกล่าว ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือ รายการกรรมลิขิต รายการคดีเด็ด และ รายการคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหารายการเป็นระยะเวลา 1 ปี ร่วมกับการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตรายการและผู้ดำเนินรายการ ผลวิจัยพบว่า 1) การสรรหาแหล่งข้อมูลและการคัดเลือกของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 รายการนั้น มีความแตกต่างกันตามลักษณะและรูปแบบของรายการ โดยรายการกรรมลิขิต เป็นการนำเสนอความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เนื้อหาในรายการจึงเป็นผลกรรมที่เกิดจากการกระทำผิดศีล 5 โดยพบการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมากที่สุด เสาะหาเรื่องจากผู้ชมทั่วประเทศ และคัดเลือกเรื่องโดยผู้เขียนบทเป็นหลัก ส่วนรายการคดีเด็ดจะเสาะหาคดีจากสถานีตำรวจและหน่วยงานของรัฐบาล คัดเลือกโดยทีมผู้ผลิตรายการ เนื้อหาในรายการเป็นลักษณะตลกประเภทกลไกของโครงเรื่องมากที่สุด ในขณะที่รายการคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ใช้เรื่องราวความรักของผู้ฟังรายการวิทยุคลับฟรายเดย์มาสร้างสรรค์ โดยใช้การคัดเลือกเรื่องที่มีความน่าสนใจและอยู่ในความทรงจำของผู้ดำเนินรายการวิทยุรายการคลับฟรายเดย์ เนื้อหาในรายการส่วนใหญ่เป็นความรักประเภทไม่สมหวัง และมีลักษณะปัญหาของการแอบรักมากที่สุด 2) กลวิธีในการสร้างสรรค์รายการนั้น รายการคดีเด็ดและรายการกรรมลิขิต จะให้ความสำคัญกับความจริงหรือความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ถูกนำมาสร้าง โดยมีการสัมภาษณ์เจ้าของเรื่องหรือผู้เกี่ยวข้องว่ามีตัวตน มีอาชีพการงานที่น่าเชื่อถือ ขณะที่รายการคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องจริง แต่เน้นว่าเป็นเรื่องที่ให้ข้อคิดและสะเทือนอารมณ์ ในแง่ของการนำเสนอรูปแบบละครนั้นทั้ง 3 รายการเป็นรูปแบบละครสั้นจบในตอน นำเสนอตัวละครแบบรอบด้านมีมิติ โดยรายการคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ เป็นรายการที่มีลักษณะของละครชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือกรรมลิขิต ส่วนคดีเด็ดถือเป็นรายการละครที่จำลองเหตุการณ์สั้นๆ เท่านั้น 3) ทัศนคติของผู้ชมต่อรายการโทรทัศน์ที่ใช้รูปแบบละครจำลองชีวิตจริงของผู้ชมทางบ้าน พบว่า ผู้ชมชื่นชอบเนื้อหา รู้สึกสนุกสนาน และคล้อยตามเนื้อเรื่อง แม้ผู้แสดงจะไม่ใช่ศิลปินดาราที่มีชื่อเสียง ที่สำคัญผู้ชมยังได้รับข้อคิด สามารถนำเรื่องราวที่ได้รับชมเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวร่วมไปกับเนื้อหาและการกระทำของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องอีกด้วย |
Other Abstract: | This research aims to study the methods for gaining materials and resources and the creative approaches in producing a simulated real-life drama of the audience which included the audiences’ attitudes toward three sample programs named Kam Likid, Kadee Ded, and Club Friday the Series. This research employs qualitative methodology by analyzing the programs’ content for a period of one year and conveying an in-depth interview with producers and moderators of the programs. Research Findings: 1) The approaches of sourcing and selecting the three programs are different according to their distinctive forms and contents. Kam Likid presents the doctrine of karma, so its contents are the consequences of violating the five precepts; the most founded was to kill lives. All the contents, which are selected by the program’s producer, are sent from the audience. Kadee Ded seeks a plot from cases happened in the police stations or told by the police officers as well as the government agencies. The stories are also selected by the producer. Club Friday the Series uses love stories of the listeners of Club Friday radio program to create contents. The selected stories, which based on the memories of the radio hosts of the program, are mostly presented disappointed love as well as unrequited love. 2) The methods for creating Kam Likid and Kadee Ded strongly focus on facts and credibility of the stories by interviewing the story’s owners or related persons who are the real person with his/her reliable career. Differently, Club Friday the Series does not focus on the real issue. It emphasizes thoughts and emotional aspects to the audience. These three programs are forms of short-play series presenting round characters. Club Friday the Series mostly represent dramatic style of drama followed by Kam Likid, while Kadee Ded presents a short-simulated drama. 3) The attitudes of the audience toward the simulated real-life drama of the audience show that they admired liable joy although the actors or actresses are not famous. Moreover, the audience were able to receive thoughts and used some valuable aspects of the stories in their real lives. The comment space via the Internet also provide them a chance to reflect and share personal experiences along with the content and actions of the characters appeared in the stories. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43959 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1412 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1412 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584886428.pdf | 5.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.