Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปาen_US
dc.contributor.authorพิมลกร แปงฟูen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialไทย
dc.date.accessioned2015-06-24T06:46:00Z
dc.date.available2015-06-24T06:46:00Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43968
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์และอิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองต่อแนวคิดการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายใต้บริบทวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตก ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา กับแนวคิดการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายใต้ระบบการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม ศักดินานิยม บารมีนิยม และระบบอุปถัมภ์ค้ำชูแบบไทย จากการศึกษาพบว่าภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบอำนาจนิยม ศักดินิยม บารมีนิยม และระบบอุปถัมภ์ค้ำชูแบบไทย ซึ่งฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนานได้ส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองการปกครอง ระบบการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตลอดจนกระทบต่อพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบอุปถัมภ์ แม้รัฐธรรมนูญหลายฉบับของประเทศไทยจะได้รับเอาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการยกร่างก็ตาม แต่วัฒนธรรมทางการเมืองในระบบอุปถัมภ์อันถือเป็นกระแสหลักยังคงปรากฏและสะท้อนสัมพันธภาพเชิงอำนาจอุปถัมภ์ในสังคมไทยเสมอโดยมักพบเห็นได้ในชนบท ระบบราชการ พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ตลอดจนพฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ฉะนั้น ภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยแบบสากล การไม่จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญจึงทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติถูกครอบงำโดยบุคคลแต่เพียงกลุ่มเดียวอย่างยาวนานส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งเพื่อสั่งสมอำนาจบารมีอันอาจนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ การคอร์รัปชัน และการปกครองแบบทรราชโดยอาศัยสัมพันธภาพเชิงอำนาจทางการเมืองเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ดังนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้มีความรู้ความสามารถเข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและสนองต่อความต้องการของประชาชนในระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies on the relationship and influence of term limits on the House of Representatives in Thailand. The thesis methodology analyzes comparative between term limits on the House of Representatives under western democratic political culture, such as United Kingdom, United State of America and term limits on the House of Representatives under Thai political culture, which influence from authoritarian political culture, Thai feudalism, charismatic authority and patronage system. According to the study, it appears that Thai political culture under authoritarian political culture, Thai feudalism, charismatic authority and patronage system, which are deep-seated in Thai society for a long time, affected on the political system electoral system, parliamentary system and Thai political behavior in patron-client association. Even if many constitution as the model for making the draft constitution, but the old Thai patronage system still appears in rural Thai society, Thai bureaucracy, electoral behavior and legislative behavior in Thailand. So, Thai political culture which does not accord with democracy and comply with western democratic political culture, non-term limits on the House of Representatives under constitution, affected to the internal structure of political system and was making long periods of one-party domination of legislatures. Then non-term limits as one way of accumulation of excessive power, corruption and tyrannical rule by exercise of the power under patronage system. Therefore, constitution should be amended by writing term limits on the House of Representatives, as one way for rotate in office and bring the must professional skill politicians, generate new blood and women into legislative branch for promotion of public interest under universal democracy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1421-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเมืองกับวัฒนธรรม
dc.subjectสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย
dc.subjectPolitics and culture
dc.subjectMembers of paliament -- Thailand
dc.titleการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeTERM LIMITS ON THE HOUSE OF REPRESENTATIVES IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormanit_j@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1421-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586011034.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.