Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43987
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสีรง ปรีชานนท์en_US
dc.contributor.authorกมลวัทน์ สุขสุเมฆen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:46:03Z
dc.date.available2015-06-24T06:46:03Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43987
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง แผนกฉุกเฉินดังกล่าวมีผู้เข้ารับบริการวันละประมาณ 87 ราย จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาต่อที่หอผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้าหอผู้ป่วยได้ทันทีหลังการรักษาเสร็จสิ้น จึงต้องนอนรอเตียงที่แผนกฉุกเฉินเป็นเวลานาน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นปัญหาระหว่างแผนก ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแก้ปัญหาแบบไม่เพิ่มทรัพยากร และแบบเพิ่มทรัพยากร ในแนวทางแก้ปัญหาแบบไม่เพิ่มทรัพยากรที่นำเสนอนั้น ได้แก่ การปรับสัดส่วนเตียงของผู้ป่วยนัดและผู้ป่วยฉุกเฉินในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ การปรับนโยบายการรับผู้ป่วยตามความรุนแรง และการลดระยะเวลารอในหอผู้ป่วย ส่วนแนวทางแก้ปัญหาแบบเพิ่มทรัพยากร ได้แก่ การเพิ่มจำนวนเตียงในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ โดยมีการสร้างแบบจำลองสถานการณ์เพื่อทดสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละแนวทาง จากผลการทดลองพบว่า การปรับสัดส่วนเตียงของผู้ป่วยนัดและผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปัจจุบันสถานะเตียงของหอผู้ป่วยได้อยู่ในจุดที่ทำให้เวลารอของผู้ป่วยนัดและผู้ป่วยฉุกเฉินสมดุลแล้ว การปรับสัดส่วนเตียงเพิ่มเติมจะยิ่งทำให้เวลารอของแผนกใดแผนกหนึ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การปรับนโยบายการรับผู้ป่วยนั้นจะทำให้เวลาของผู้ป่วยนัดสูงขึ้นมาก จึงสมควรปรับนโยบายหลังจากหอผู้ป่วยสามารถรับผู้ป่วยได้เพิ่มเท่านั้น การลดระยะเวลารอในหอผู้ป่วยเป็นแนวทางที่ทำให้เวลารอของทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยนัดลดลงได้ทั้งสองแผนก โดยเฉลี่ย เมื่อลดระยะเวลาครองเตียงได้ร้อยละ 10 จะสามารถลดเวลารอของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ร้อยละ 10.6 และผู้ป่วยนัดได้ร้อยละ 12.5 และแนวทางการเพิ่มเตียงนั้นสามารถลดเวลารอเข้าใช้เตียงของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ โดยในผลการทดลองได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเตียงที่เพิ่มขึ้นและเวลารอของผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มทรัพยากรให้เหมาะสมen_US
dc.description.abstractalternativeIn this research, we study at Emergency Department (ED) in a university hospital. On average, 87 patients will be treated in this ED per day. From the preliminary study, a lot of emergency patients requiring hospital admission cannot be admitted to the ward immediately after finishing the treatment. They spend an unreasonable holding time in the ED because their access to a ward is blocked by the full utilization of the ward’s beds. This issue is called “Access Block” which is an inter-departmental issue that needs to be brought to management’s attention. This research purposes 2 ways of solutions; (1) Non-additional resources method (2) Additional resources method. For the first method, the solutions are to identify the optimal Elective: ED patient bed ratio in ward, to amend the admission policy based on severity level and to reduce the waiting time in ward. For the second method, the solutions are to increase the number of bed in ward. The simulation model is developed to simulate the result in each solution. The result from this research can indicate that the adjustment of Elective: ED patient ratio in ward cannot be executed since status of bed in ward is currently at the point that waiting time of elective patients and ED patients is balance. Adjustment of bed ratio can rapidly increase the waiting time of each department. The amendment of the admission policy based on severity level leads to increase the waiting time of elective cases. Thus, the policy is supposed to improve after the ward has got higher capacity. Waiting time reduction in ward can reduce the waiting time of both ED patients and elective patients. On average, 10 percent reduction can reduce waiting of ED patients and elective patients by 10.6% and 12.5%, respectively. Increasing the number of bed in ward can reduce waiting time of ED patient admission. The result shows the relation between increasing in number of bed and ED patient’s waiting time for using in making final decision by management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1431-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงพยาบาล -- การบริหาร
dc.subjectการคัดแยกผู้ป่วย
dc.subjectHospitals -- Administration
dc.subjectTriage (Medicine)
dc.titleการลดเวลารอจำหน่ายผู้ป่วยจากแผนกฉุกเฉินเข้าหอผู้ป่วยen_US
dc.title.alternativeREDUCING PATIENT'S DISPOSITION HOLDING TIME FROM AN EMERGENCY DEPARTMENT TO WARDSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorseeronk@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1431-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670106321.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.