Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44032
Title: แนวทางการพัฒนาโปรแกรมเสริมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การบังลม
Other Titles: The development of a plugin for an environmental impact assessment : wind blockade
Authors: ภพ บริสารคุณ
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cbundit@chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การออกแบบ
Buildings -- Design
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการบังลมของโครงการอาคารสูงโดยพิมพ์ชนก (2552) ได้เสนอแนวทางวิธีการจำลองภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบการคำนวณด้วยมือหาพื้นที่อับลมและหาตำแหน่งอาคารข้างเคียงที่อยู่ในพื้นที่อับลมเพื่อหาผลกระทบที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีจึงวัตถุประสงค์จะพัฒนาโปรแกรมเสริม (Plugin) มาแทนการคำนวณด้วยมือ งานวิจัยนี้เลือกใช้โปรแกรม Google SketchUP8 เนื่องจากมีความเหมาะสมในการติดตั้งโปรแกรมเสริม และง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยมีลำดับขั้นตอนการทำงานซึ่งผู้ใช้จะต้องกรอกข้อมูลเบื้องต้นได้แก่ ชื่อผู้ใช้ ชื่อโครงการ ความกว้าง ความยาว ความสูงของอาคาร และ ทิศทางลมที่เข้าปะทะอาคาร ในกรณีอาคารโครงการฯที่มีรูปทรงซับซ้อนจะต้องปรับรูปทรงอาคารให้เป็นรูปทรงสีเหลี่ยมอย่างง่าย ก่อนที่โปรแกรมเสริม จะทำหน้าที่ประมวลผลหาตัวเลขระยะจากตัวอาคารไปยังพื้นที่โดยรอบที่คาดว่าจะเกิดพื้นที่อับลม นำตัวเลขดังกล่าวมาเป็นกรอบเนื้อหาในการเขียนภาพ 3 มิติของอาคารโครงการและอาคารข้างเคียง โปรแกรมเสริมจะประมวลผลและแสดงพื้นที่อับลมและอาคารที่อยู่ในพื้นที่อับลมนั้นโดยระบุตำแหน่งอาคารที่อยู่ในพื้นที่อับลม ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่ได้รับผลกระทบ โปรแกรมเสริมจะแสดงตัวเลขเพื่อนำไปแทนค่าลงตารางที่กำหนด โปรแกรมเสริมจะคำนวณหาสัดส่วนพื้นผิวอาคารที่ได้รับผลกระทบจากการบังลมต่อพื้นผิวอาคารโดยรวม และตัวเลขสัดส่วนที่ได้จะเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงและเป็นแนวทางในการชดเชยต่อไป โปรแกรมเสริมที่พัฒนาครั้งนี้ ใช้ได้เฉพาะอาคารสูง และอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยม สำหรับตัวเลขที่ได้นั้น ผู้วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังต้องเป็นผู้วินิจฉัยระดับความรุนแรงและระดับความเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ควรจะมีการศึกษาในเชิงลึกต่อไป
Other Abstract: The program utilizes Google SketchUP8 to install a plugin as it is easy to use and is easy to understand. The process involves the user having to fill in basic information including: user name, project name, length, width, height of the building, and wind direction. In the case of a building project with a complex shape, the shape of the building has to be adjusted to a simple rectangular shape before utilizing the program. This shape is used for the duration of the building processing to calculate the area surrounding the expected Wind blockade. This number is used in creating the building and adjacent buildings in the 3D project. The software is used to process and display Wind blockade zone of wind around the building space. The plug in displays the numbers to be entered into the program to calculate the surface area of the building affected by the windshield compared to the total surface area. The results are proportional to the intensity and to the level of analysis necessary for use as a guide for further compensation. This program is only applicable to high-rise, rectangular buildings. The figures can be used to diagnose the severity and the degree of damage in an environmental impact assessment. This issue should be studied further in depth.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44032
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.384
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.384
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pyop _Bo.pdf19.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.