Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44040
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภาส โพธิแพทย์-
dc.contributor.advisorปราณี กุลละวณิชย์-
dc.contributor.authorสุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-07-03T06:10:27Z-
dc.date.available2015-07-03T06:10:27Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44040-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหมวดคำ หน้าที่ ความหมาย และปริบทการปรากฏของคำว่า "เป็น" ในสมัยต่าง ๆ และศึกษาพัฒนาการของคำว่า "เป็น" ตั้งแต่สมัยสุโขทัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าคำว่า "เป็น" แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ คำว่า "เป็น" ที่มีความหมายประจำคำซึ่งมีความหมายทั้งสิ้น 6 ความหมาย ได้แก่ ความหมายว่า 'มีชีวิต' 'บังเกิด' 'ดำเนิน, ปรากฏอยู่' 'รู้วิธี' 'รู้ความรู้สึก, รู้สภาพ' และ 'ได้ที่' และสามารถปรากฏอยู่ในหมวดคำได้ 3 หมวด คือ คำกริยา คำคุณศัพท์ และคำกริยาวิเศษณ์ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ คำว่า "เป็น" ที่ไม่มีความหมายประจำคำ ซึ่งแบ่งได้เป็นอีก 2 ประเภท ได้แก่ สัมพันธกริยาและกริยาแทน คำว่า "เป็น" ทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถปรากฏอยู่ในหมวดคำกริยาได้หมวดเดียว ในด้านพัฒนาการของคำว่า "เป็น" พบว่าสามารถแบ่งข้อมูลได้เป็น 6 ช่วงสมัยด้วยกัน ได้แก่ (1) สมัยสุโขทัย (2) สมัยอยุธยาถึงธนบุรี (3) สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (4) สมัยรัชกาลที่ 3 ถึง 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (5) สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ (6) สมัยรัชกาลปัจจุบัน เส้นทางการเปลี่ยนแปลงของคำว่า "เป็น" มีหลายเส้นทาง ทุกเส้นทางมีจุดเริ่มต้นมาจากคำว่า "เป็น" เดียวกัน ได้แก่ คำว่า "เป็น" ที่มีความหมายประจำคำว่า 'มีชีวิต' ทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของคำว่า "เป็น" ทุกเส้นทางมีความสัมพันธ์กัน พัฒนาการของคำว่า "เป็น" นี้ ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลง 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการนามนัย กระบวนการอุปลักษณ์ และกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ นอกจากนี้ ยังพบว่าคำและสำนวนที่มีคำว่า "เป็น" เป็นส่วนประกอบนั้น กลุ่มหนึ่งมีที่มาจากคำว่า "เป็น" ที่มีความหมายประจำคำ ซึ่งได้แก่ คำว่า "เป็น" ที่มีความหมายว่า 'มีชีวิต' 'บังเกิด' 'ดำเนิน, ปรากฏอยู่' และ 'รู้วิธี' ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมีที่มาจากคำว่า "เป็น" ที่เป็นสัมพันธกริยา พัฒนาการของคำและสำนวนที่มีคำว่า "เป็น" เป็นส่วนประกอบนี้ พบว่าผ่านกระบวนการกลายเกิดเป็นคำใหม่en_US
dc.description.abstractalternativeThis dissertation aims at studying parts of speech, functions, meanings, and contexts of the word /pen/ and investigating the development of this word in each period from Sukhothai period right up until the present. The study reveals that the word /pen/ is classified into 2 types: (1) /pen/ as lexical word which contains 6 meanings: 'to be alive', 'to arise/occur', 'to exist', 'to know how to do', 'to know the feeling', and 'to be at the right stage or condition', (2) /pen/ as non-lexical word which is divided into 2 subtypes: /pen/ as copula and /pen/ as verbal substitute. As a lexical word, the word /pen/ is categorized into 3 parts of speech: verb, adjective, and adverb; as a non-lexical word, /pen/ can occur only as a verb. The finding also suggests that the development of the word /pen/ is divided into 6 periods: (1) Sukhothai, (2) Ayutthaya and Thonburi (3) Rattanakosin from the reigns of King Rama I to King Rama II, (4) Rattanakosin from the reigns of King Rama III to King Rama IV, (5) Rattanakosin from the reigns of King Rama V to King Rama VIII, and (6) Rattanakosin during the reign of the present King. Historically, /pen/ has many pathways. However, according to this work, these pathways are derived from the same original word, the lexical word /pen/ meaning 'to be alive'; thus the pathways are related. All changes of the word /pen/ emerged under 3 processes: metonymic process, metaphorical process, grammaticalization process. Another major finding is that the words or expressions containing the words /pen/ can be categorized into two groups, namely, groups of words or expressions that develop from the lexical word /pen/ meaning 'to be alive', 'to arise', 'to exist', and 'to know how to do'; and those which develop from the copula /pen/. The development of the words or expressions containing the words /pen/ emerged under lexicalization processes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.388-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- ไวยากรณ์en_US
dc.subjectภาษาไทย -- หน่วยคำen_US
dc.subjectThai language -- Grammaren_US
dc.subjectThai language -- Morphemicsen_US
dc.titleพัฒนาการของคำว่า "เป็น" ในภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeThe development of the word /pen/ in Thaien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVipas.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPranee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.388-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureenate_ja.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.