Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโต-
dc.contributor.authorจิราพร นิลสุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-07-17T02:12:30Z-
dc.date.available2015-07-17T02:12:30Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44050-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อนต่อระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อนในการกำหนดทักษะทั้ง 6 ด้าน ของ Hiester (2009) และใช้กระบวนการการจัดการตนเองของ AADE (2009) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะมากกว่า 8% ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย รวมทั้งหมด 40 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานโดยมีการจัดกิจกรรมโดยผู้วิจัยจำนวน 3 ครั้ง และกลุ่มเพื่อนพบผู้ป่วยเบาหวาน จากนั้นติดตามทางโทรศัพท์ 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินปัญหา 2) การตั้งเป้าหมาย 3) ระยะวางแผน 4) ระยะปฏิบัติตามแผน และ 5) ระยะติดตามและประเมินผล โดยมีแผนการสอน ภาพสไลด์ และคู่มือ “พิชิตเบาหวาน” ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรม เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานของเพื่อนเบาหวาน ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .70 ค่าความเที่ยง KR - 20 .85 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการวัดซ้ำ (Test - retest) พบว่ามีความสัมพันธ์กัน (r = .99) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อน (x= 9.12±2.06) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (x= 10.40±2.34 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.416, df = 19, p< .05) 2.ค่าเฉลี่ยของการลดลงของระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มทดลอง (d = 1.83±1.28) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (d= 0.01±1.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.64, df = 38, p < .05)en_US
dc.description.abstractalternativeThe Quasi-experimental research was designed to study the effect of peer supported self-management program on HbA1C level in diabetes type 2 patients in Rayong hospital .The concepts of peer support developed by Hiesler (2009) and self management method of AADE (2009) were used as a conceptual framework. The sample were 40 type 2 diabetes patients who have HbA1C > 8% in past 6 months in diabetic clinic of Rayong hospital, 20 per group. The control group received usual care while the experimental group received the peer support self–management program. The intervention, developed by researcher, consisted 5 steps: 1) Assessment, 2) Goal setting, 3) Planning, 4) Implementation, and 5) Evaluation/Follow-up for blood sugar control. The researcher met subjects 3 times and diabetic peers called subjects every two weeks. The intervention was reviewed for content validity by a panel of 5 experts. Lesson plan, slide, and a handbook of Diabetes conquer was developed as part of the intervention. Diabetic knowledge of peer was measured to monitor the intervention. Its content validity index was 0.7, and KR – 20 was 0.85. A test-retest was used to examine the stability of HbA1C report with a correlation coefficient (r) of .99. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. Major finding of this study were as follow: 1.The mean of HbA1C level of type 2 diabetes mellitus patients after receiving the peer support self-management program (x= 9.12± SD 2.06) was significantly lower than before receiving the program (x= 10.40± SD 2.34 ) (t = 3.416, df = 19, p<.01). 2.The reduction of HbA1C level of type 2 diabetes mellitus patients after receiving the peer support self- management (d= 1.83±1.28) was significantly higher than that of the control group (d= 0.01±1.14) (t = 2.63, df = 38, p<.05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.401-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการตนเอง (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectฮีโมโกลบินen_US
dc.subjectเบาหวานen_US
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectน้ำตาลในเลือดen_US
dc.subjectSelf-management (Psychology)en_US
dc.subjectHemoglobinen_US
dc.subjectDiabetesen_US
dc.subjectDiabeticsen_US
dc.subjectBlood sugaren_US
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการสนับสนุนจากเพื่อนต่อระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.title.alternativeThe effect of peer supported self-management program on HbA1C level of type II diabetic patientsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsathja_thato@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.401-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jiraporn_ni.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.