Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44062
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ-
dc.contributor.authorเอกลักษณ์ กิติภัทร์ถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-07-20T01:38:54Z-
dc.date.available2015-07-20T01:38:54Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44062-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทำการศึกษาและพัฒนากากตะกอนเปียกจากน้ำเสียของกระบวนการผลิตเอทานอลมาใช้ในรูปแบบเชื้อเพลิงอัดแท่งและทำการเพิ่มคุณภาพโดยการนำไปผสมกับชีวมวล 3 ชนิด (เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียนและกะลามะพร้าว) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ การศึกษาและการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนเปียกผสมร่วมกับชีวมวลในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ต่อไปทำการวิเคราะห์หาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตะกอนเปียกที่มีคุณภาพมากที่สุดโดยที่มีกากตะกอนเปียกเป็นส่วนผสมหลักและสุดท้ายคือวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตของเชื้อเพลิงอัดแท่งและวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐ์ศาสตร์ โดยจากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านพลังงานของเชื้อเพลิงจากตะกอนเปียกบริสุทธิ์ มีค่าความร้อน 3,851.3 cal/g ปริมาณเถ้า 34.3% คาร์บอนคงตัว 30.2% สารที่ละเหยได้ 33.2% และมีความชื้น 5.3% ซึ่งถือว่ายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จัดว่าเป็นคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตะกอนเปียกให้มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ทนแทน ถ่านและฝืน โดยในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำชีวมวล (เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียนและกะลามะพร้าว)เข้ามาผสมร่วมเพื่อเพิ่มคุณภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่ง ใน 5 อัตราส่วน 9:1, 8:2, 7:3, 6:4 และ 5:5 ทั้ง 3 ตัวอย่าง โดยจากผลวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุดโดยที่มีกากตะกอนเปียกเป็นตัวผสมหลักคือ 5:5 ทั้ง 3 ตัวโดยมีค่าความร้อนและปริมาณคาร์บอนคงตัวเพิ่มมากขึ้นแปรผันตรงตามอัตราส่วนผสมของชีวมวลที่เพิ่มขึ้น และยังทำให้ปริมาณเถ้าและสารระเหยน้อยลงตามอันดับ โดยเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตะกอนเปียกผสมร่วมกับกะลามะพร้าวให้ค่าความร้อนสูงสุด เปลือกมังคุด และเปลือกทุเรียน ตามอันดับ วิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตของเชื้อเพลิงอัดแท่งและวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐ์ศาสตร์ของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตะกอนเปียกผสมร่วมกับชีวมวลในอัตราส่วน 5:5 ที่เป็นอัตราส่วนที่เชื้อเพลิงอัดแท่งมีคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงดีที่สุดทำให้ทราบว่าตะกอนเปียกมีความคุ้มค่าในการลงทุนสูงและสามารถคืนทุนในระยะเวลาอัน จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปส่งเสริมและพัฒนาการนำวัสดุของเสียเหลือทิ้งจากการผลิตและการบริโภคทางการเกษตรนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งen_US
dc.description.abstractalternativeThis objective of this research was to study and develops the biofuel or briquette fuel from wet cake of the wastewater in ethanol industrial and improve the quality of briquette fuel by adding the other biomass that come from the hard shell of fruit (mangosteen shell, durian shell and coconut shell) to improve the efficiency and property of briquette fuel. This research was separated in to 3 parts. The first was study and make the briquette fuel co-production from wet cake of ethanol industrial and fruit shell in different ratio. The second part was analyzing the best ratio for produce the briquette fuel that have the best quality with the wet cake are the main component. And the last was economy analysis. From the result, The briquette fuel from 100% wet cake from wastewater of ethanol industrial has the heating value 3,851.3 cal/g, Ash 34.3% Fixed carbon 30.2%, Volatile matter 33.2% and moisture 5.3% with this parameter the wet cake does not meet the quality standard, it need to improve and develop to meet standard for the makeup of coal and firewood. In this research, the researcher was adding the biomass (mangosteen shell, durian shell and coconut shell) to the briquette fuel from wet cake in 5 ratios (9:1, 8:2, 7:3, 6:4 and 5:5) of 3 samples. From the results, show the best ratio was the 5:5 all three samples with the highest heating value and fixed carbon with the addition biomass in the sample and also decreases the ash content and volatile matter. The highest heating value was briquette fuel co-production with coconut shell and follow with mangosteen shell and durian shell. From the economic analyze the briquette fuel with ration 5:5 that have the value of investment and a payback in less time. The results of this research can contribute to the promotion and development of the waste materials from the production and consumption of agricultural utilized cost-effectively and is another way to reduce the environmental problems the other way.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.411-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงอัดแท่งen_US
dc.subjectพลังงานชีวมวลen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอล -- การกำจัดของเสียen_US
dc.subjectBriquets (Fuel)en_US
dc.subjectBiomass energyen_US
dc.subjectEthanol fuel industry -- Waste disposalen_US
dc.titleเชื้อเพลิงอัดแท่งจากชีวมวลและตะกอนเปียกอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลen_US
dc.title.alternativeBriquette fuel from biomass and wet cake of etanol industryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorprasert.r@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.411-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akekaruk_ki.pdf15.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.