Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44075
Title: การปรับตั้งระบบป้องกันที่เหมาะสม ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัว โดยคำนึงถึงแรงดันตกชั่วขณะ และระยะเวลาการต่อกลับของอุปกรณ์ป้องกันในระบบจำหน่ายไฟฟ้า
Other Titles: An appropriate protection setting of distributed generation by considering voltage sag and reclosing time of protective device in distribution system
Authors: ชวินทร์ ประภานุกูล
Advisors: สุรชัย ชัยทัศนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Surachai.C@Chula.ac.th
Subjects: การจ่ายพลังงานไฟฟ้า
การผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายตัว
Electric power distribution
Distributed generation of electric power
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยทั่วไปในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัว (Distributed Generation: DG) เชื่อมต่ออยู่นั้นเมื่อเกิดการลัดวงจรขึ้นการไฟฟ้าจะกำหนดให้ DG ต้องปลดตัวออกจากระบบภายในระยะเวลา 0.1 วินาที ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบที่ DG อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในระบบได้ อาทิเช่น ปัญหาลดขอบเขตการทำงานของอุปกรณ์ป้องกัน ปัญหาการไม่ตรงกันของเฟส เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาการไม่ตรงกันของเฟสซึ่งถือเป็นปัญหาที่รุนแรง และก่อความเสียหายต่อระบบเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อ DG อยู่ในระบบไฟฟ้าเมื่อเกิดการลัดวงจรในระบบนั้น อาจส่งผลดีหลายประการต่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยเฉพาะยิ่งการลดแรงดันตกชั่วขณะในอุปกรณ์ที่ไวต่อแรงดันตก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอการพิจารณาผลกระทบของระยะเวลาการปลดตัวของ DG โดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบของ DG ต่อแรงดันตกชั่วขณะ และผลกระทบของ DG ต่อระบบป้องกันไฟฟ้า โดยในการศึกษาผลกระทบของ DG นั้นจะทำการพิจารณา ระยะเวลาการทำงานของอุปกรณ์ป้องกัน ระยะเวลาการต่อกลับของอุปกรณ์ป้องกัน ระยะเวลาการลัดวงจร และระยะเวลาการปลดตัวของ DG ร่วมด้วย นอกจากนี้จะศึกษาถึงผลกระทบของตำแหน่งการเชื่อมต่อ DG การปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกันของ DG อันได้แก่ ค่ากระแสปรับตั้ง และค่าเวลาปรับตั้ง และคุณลักษณะของ DG อันได้แก่ รูปแบบการทำงานของ DG ตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของ DG แรงดัน ณ จุดเชื่อมต่อของ DG ขนาดพิกัด DG และรูปแบบการเชื่อมต่อหม้อแปลงของ DG โดยเปรียบเทียบกับข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2551 เพื่อนำไปคำนวณค่าการปรับตั้งที่เหมาะสมผ่านขั้นตอนทางพันธุกรรม
Other Abstract: Typically, when fault occurs, DG must be disconnected within 0.1 s due to the Grid Code of the utility in Thailand. This DG disconnecting time is specified to prevent the impact of DG on power systems, e.g. Reach Reduction, Islanding, Out-of-Phase, etc. One of the most severe impacts is Out-of-Phase. However, if DG remains connected in the system during a fault occurrence, it may provide some advantages for DG owner and load especially the reduction of voltage sag on sensitive equipment. This thesis analyzes the impacts of DG disconnecting time on protection system and voltage sag. The analysis is based on the operating time of utility protective device, the automatic reclosing time of utility protective device, fault duration and DG disconnecting time. In addition, the thesis analyzes the impacts of DG location, DG protective device settings and DG operating characteristics by comparing with PEA Grid Code. In DG protective device setting, this thesis focuses on both Pickup Current and Time Dial Setting. In DG operating characteristic, this thesis considers Operation Modes, Power Factor, Terminal Voltage and Transformer Connection Type. Furthermore, this thesis determines an appropriate DG protective device setting and DG operating characteristics by using Genetic Algorithm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44075
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.419
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.419
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawin_pr.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.