Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44081
Title: ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาค : ผลของการเคลื่อนย้ายเงินทุน
Other Titles: Macroeconomic volatility : the effect of capital flow
Authors: ชุลินทร์ นฤมิตพันธุ์เจริญ
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chayodom.S@Chula.ac.th
Subjects: การเคลื่อนย้ายเงินทุน
เศรษฐศาสตร์มหภาค
Capital movements
Macroeconomics
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเงินทุนเคลื่อนย้ายนับเป็นหนึ่งในต้นเหตุของความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาค โดยความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายจะทำให้ภาคการเงินมีความผันผวนเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อไปยังภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลกระทบดังกล่าวและนัยเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนในเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคในกรณที่พบว่าความสัมพันธ์มีอยู่จริง โดยศึกษาจากความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าและไหลออกเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ที่มีต่อความผันผวนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว การบริโภคต่อหัว และการลงทุนต่อหัวใน 24 ประเทศ ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1994 ถึงปี ค.ศ. 2010 ด้วยแบบจำลอง GLS ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภายในประเทศ คือ ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อและรายได้ของประเทศโดยเปรียบเทียบ มีความสำคัญในการอธิบายความผันผวนที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจระดับมหภาค สำหรับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าและเงินทุนไหลออกพบว่าทำให้ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคเพิ่มสูงขึ้นและผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายั้งสองประเภทมีผลกระทบต่อความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคแตกต่างกันออกไป โดยที่การเปิดประเทศทั้งทางการค้าและด้านการเงินมีส่วนในการช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่กระทบต่อความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาค โดยพบว่าการเชื่อมโยงทางการเงินมีผลกระทบต่อตัวแปรเศรษฐกิจระดับมหภาคมากกว่าการเปิดประเทศทางการค้า นอกจากนั้นยังพบว่าการพัฒนาทางการเงินวัดโดยมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทำให้ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาทางการเงินมีผลทางอ้อมในการลดความผันผวนของเศรษฐกิจระดับมหภาคโดยการลดผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีต่อความผันผวนในเศรษฐกิจมหภาค แต่พบผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Other Abstract: The reasons of macroeconomic volatility come from both internal and external factor. And one of the reasons is capital flow volatility, which affect macroeconomic volatility through unstable financial sector. This Thesis aims at studying the effect of capital flow volatility to macroeconomic volatility and finding out the policy implication to reduce that effect if available. Panel GLS has been used to estimate the effect to macroeconomic volatility including volatility in GDP per capita, consumption per capita, and investment per capita. The data used in this study includes 24 countries between 1994 and 2010. The result from the study shows that inflation volatility and relative income play an important role as determinantion factors of macroeconomic volatility. Moreover, a rise in capital flow volatility also increases the macroeconomic volatility. And the different types of capital flow affect volatility in difference magnitude. The result also indicates that both financial and trade integration can dampen the effect of capital flow volatility but financial integration has a broader effect. Surprisingly, higher financial development is not always appropriate to economy because econometric outcomes shows that higher financial development does increase the volatility of macroeconomic even though it dampens the effect of capital flow volatility to macroeconomic volatility, the effect to macroeconomic volatility is so small.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44081
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.422
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulin_na.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.